ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

จังหวัดนครสรรค์ จัดการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสัญจร ที่อำเภอชุมตาบง

วันนี้ (31​ พฤษภ​าคม 2565​) เวลา 13.30 น. นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 8 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (สัญจรพื้นที่อำเภอชุมตาบง) ณ หอประชุมโรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์  โดยมอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา​ยาเสยติดโดยมีเรื่องเสนอเพื่อทราบและพิจารณา สำนักงาน ปปส.ภ.6  สรุปสถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ สรุปการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในภาพรวม รวมทั้งปัญหา/อุปสรรคและความต้องการที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปสนับสนุน/ช่วยเหลือในการดำเนินการฯ สำนักงาน ปปส.ภาค 6 ประเมินสถานการณ์/แนวโน้มของปัญหายาเสพติดยาเสพติดพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ,แนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ,สรุปนโยบายการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี รายงานผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้านการปราบปราม , ด้านการป้องกัน , ด้านการบำบัดรักษา แนวทางในการประเมินสภาพปัญหายาเสพติดในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ปี 2565 การจัดทำร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไข ปัญหายาเสพติด (พ.ศ.2566 - 2570) รายงานสถิติผู้ต้องขังคดียาเสพติดของเรือนจำกลางนครสวรรค์ เดือนธันวาคม 2564 รายงานผลการปฏิบัติ ของด่านตรวจพยุหะคีรีห้วงเดือนธันวาคม 2564ทั้งนี้ การประชุมเพื่อให้คณะกรรมการดำเนินการ แนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของจังหวัดนครสวรรค์ สอดคล้องกับนโยบายแนวทางการดำเนินงานของ ศอ.ปส. ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย!!!!!! ต้อย​ รอบ​รั้ว​ ภูธร​0619782952!!!!!!!! ​

จังหวัดนครสวรรค์ จัดการประชุมตรวจติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอตาคลี

วันนี้31 พฤษภาคม​ 2565 เวลา 13.30 น. นาย​จุมพฏ​ วรรณ​ฉัตร​ศิริ​ รอง​ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ประธานการประชุมตรวจติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้อง กันและลดอุบัติเหตุทางถนนของศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอตาคลี ณ ห้องประชุมชั้นรู้รักสามัคคี(ชั้น2)ที่ว่าการอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์โดยมีนายอมร บริรักษ์เลิศ นายอำเภอตาคลี   สำนักงาน ปภ.นครสวรรค์ หัวหน้าส่วนราชการ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมฯโดยการประชุมได้สรุปและรายงาน เป็นการสรุปภาพรวมการขับเคลื่อนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมสรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของศูนย์ปฏิบัติการ ความปลอดภัยทางถนนอำเภอตาคลี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพของจุดเสี่ยงจำนวน 3 จุด (หมวดทางหลวงตาคลี)จุดกลับรถหน้าโรงเรียนวรนาถพิทยา(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1)   จุดกลับรถหน้ากองบิน 4 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1)   ถนนเลียบคลองชลประทาน(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196)  ถนนเลียบคลองชลประทานชัยนาท-ป่าสัก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196) โดยการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณจุดเสี่ยง (ทางโค้ง ทางแยก ทางร่วมและทางตรงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย) ในพื้นที่ตำบลตาคลี จำนวน 5 แห่ง ตำบลหนองหม้อ จำนวน 3 แห่ง และตำบลพรหมนิมิต จำนวน 3 แห่ง  สรุปสถิติและผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ในห้วงที่ผ่านมาการขับเคลื่อนศูนย์ปฏิบัติการ ความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ตำบลขับขี่ปลอดภัย  ทั้งนี้ การประชุมเพื่อขับเคลื่อนมาตรการความปลอดภัยทางถนนฯ กำหนดเป้าหมายลดการเกิดอุบัติเหตุและประสานการทำงานดูแลผู้ใช้รถใช้ถนนในทุกมิติ เน้นบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการ 10 รสขม อย่างเคร่งครัดภคพล ครองสิน.....ข่าว/ภาพ

นครสวรรค์​ ประชุมคณะทำงานกลั่นกรองการพิจารณาให้สัญชาติไทย จังหวัดนครสวรรค์

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 101 ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ นายปรีชา เดชพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานการ ประชุมคณะทำงานกลั่นกรองการพิจารณาให้สัญชาติไทย จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 1/2565 เพื่อพิจารณากลั่นกรองคำขอมีสัญชาติไทย ของผู้ถือบัตรประจำตัว ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย จำนวน 1 ราย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ คณะทำงานฯ และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมฯ    !!!!!! ต้อย​ รอบ​รั้ว​ ภูธร​0619782952!!!!! 

จ มุกดาหารอ คำชะอี กำหนดการเลือกตั้งประธานภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติประจำจังหวัดมุกดาหาร เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับน้องประชาชนในหลักของธรรมาภิบาลแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565เวลา 90.00 น  ทางภาคีธรรมาภิบาลแห่งชาติจำประจำจังหวัดมุกดาหาร ได้หารือกันในการเลือกตั้งประธานจังหวัดโดยองค์กรหรือกลุ่มบุคคล ตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้องค์กร มูลนิธิหรือสมาคม ทำประโยชน์ให้กับประชาชนประเทศชาติมากขึ้นภายในต้นเดือนมิถุนายนนี้ ธรรมาภิบาลแห่งชาติและภาคีธรรมาภิบาลจังหวัดมุกดาหาร จะมีการเลือกตั้งประธานจังหวัดรองประธานและเลขาธิการเพื่อเป็นหัวเรือในการ ดำเนินงานภาคประชาชนต่อไปกล่าวคือภาคีเครือข่ายธรรมชาติแห่งชาติ ภ ธ ชเป็นองค์กรภาคประชาชนตามรัฐธรรมนูญ มีแนวร่วมเช่น องค์กรภาครัฐ, องค์กรเอกชน, สถานศึกษา, ชมรม,สมาคม, มูลนิธิ ต่างๆ   มีวัตถุประสงค์1 เพื่อยกระดับการประเมินระดับสากล ในเรื่อง ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน(ค่า CPI) ของประเทศไทย ให้ดีขึ้น2 เพื่อขยายองค์ความรู้สู่ประชาชนในเรื่องหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นแนวเดียวกัน ให้เป็นหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย คือ คุณธรรม 4 ประการ ข้อห้าม 5 ประการ และหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ3 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเเผยแพร่วิชาการธรรมาภิบาล ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ IT ไปยังบุคคล กลุ่มบุคคล ในสังคมทุกระดับชั้น4  เพื่อเชิดชูเกียรติคุณ หน่วยงาน องค์กร กลุ่มบุคคล บุคคล ที่ร่วมมือสนับสนุนจัดกิจกรรม หรือ ขอรับการประเมินการเชิดชูเกียรติ ในทุกระดับ ทุกกลุ่ม และทุกประเภท ที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาล5 เพื่อร่วมมือกับองค์กรการกุศลต่างๆ จัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุนงานเพื่อสาธารณะประโยชน์ต่างๆ โดยไม่เลือกศาสนา ความเชื่อ หรือความศรัทธาใด6 เพื่อวิจัย พัฒนา จัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือ และจัดกิจกรรมวิชาการธรรมาภิบาล ร่วมกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน สถาบันการศึกษาทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กร กลุ่มบุคคล ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค7 เพื่อสร้างเครือข่ายโดยมีตัวแทนภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ เช่นวิทยากร และผู้นำธรรมาภิบาลทั้งระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ทั่วประเทศ รวมทั้งมีสถาบันวิชาการธรรมาภิบาล เพื่อช่วยกันยกระดับองค์กรธรรมาภิบาล ให้เป็นองค์กรอิสระระดับชาติ โดยบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ "สภาธรรมาภิบาล"เริ่มก่อตั้ง ภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ เมื่อวันอังคาร ที่ 9 มกราคม 2558ประชุมก่อตั้ง เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 ณ.ห้องอาหารสโมสรราชตฤณมัยสมาคมโดยที่ประชุม เลือก พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ เป็นประธาน และ พลเอก ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เป็นเลขาธิการ  เพื่อที่จะได้จัดตั้งจัดการหลักธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับหลักศีลธรรมสร้าง คุณธรรม จริยธรรม  และจะได้ทำความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชนได้เข้าใจในหักของธรรมาภิบาลแห่งชาติต่อไปภาพ เรียบเรียงโดย  อนุภาพ  อาจหาญ  สุดารัตน์ คนไว เหยี่ยวข่าวยอดพญายมรายงาน😈👹👺㊗

ศรีสะเกษ มรภ.จัดพิธีลงนามความร่วมมือการใช้ฐานข้อมูล Big Data ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ กับ อบต. อ.เมืองศรีสะเกษ เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการการแก้ไขปัญหาความยากจน

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องศรีลำดวน 1 โรงแรมศรีลำดวน อ.เมืองศรีสะเกษ                จ.ศรีสะเกษ นายวัฒนา  พุฒิชาติ  ผวจ.ศรีสะเกษ ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือการใช้ฐานข้อมูล Big ata ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ กับ อบต.อ.เมืองศรีสะเกษ ซึ่งคณะผู้วิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ ได้จัดพิธีในครั้งนี้ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการการแก้ไขปัญหาความยากจน จ.ศรีสะเกษ เพื่อร่วมพัฒนาและร่วมใช้งานระบบฐานข้อมูล Big Data มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อร่วมจัดเก็บ บันทึกข้อมูล ส่งต่อความช่วยเหลือ กลุ่มคนจน กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ให้เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคงและสามารถพึ่งพาตนเองได้และความร่วมมืออื่นๆ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบดำเนินการร่วมกัน โดยมี ผศ. ดร.สหัสา พลนิล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ ในนามคณะผู้วิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ เป็นผู้กล่าวรายงาน และมี รศ.ดร. ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายก อบต.จำนวน 14 แห่งเขต อ.เมืองศรีสะเกษ มาร่วมพิธีและให้การต้อนรับผศ. ดร.สหัสา พลนิล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ ในนามคณะผู้วิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ  กล่าวว่า  ตามที่ปีงบประมาณ 2563- 2565 มหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่อง "การวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำกรณีจังหวัดศรีสะเกษ" จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และได้การสังเคราะห์ผลการดำเนินงาน นวัตกรรมแก้จน (OM) จังหวัดศรีสะเกษ ว่า WaTTANAModel จากกระบวนการปฏิบัติงานจริง 6 ขั้นตอน และจากการศึกษาพบว่า อบต.เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญ เป็นหน่วยงานใกล้ชิดกับพื้นที่ รับทราบปัญหา ความต้องการของชุมชน และการวางแผนปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันเหตุการณ์ การมีสารสนเทศที่ถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำ เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของ อบต. นำไปสู่การปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการสรุปข้อมูลด้านต่างๆ นำเสนอรายงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรงกลุ่มเป้าหมายผศ. ดร.สหัสา พลนิล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ กล่าวต่อไปว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎ                       ศรีสะเกษ ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน และโดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จึงได้เล็งเห็นความสำคัญพัฒนาระบบฐานข้อมูล Big Data เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของ อบต. ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านผู้ด้อยโอกาสเพื่อขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์จังหวัดไปสู่เป้าหมาย การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ รวม 15 หน่วยงาน ได้แก่ อบต.หมากเขียบอบต.หนองครก  อบต.หนองไฮ  อบต.หนองไผ่ อบต. หนองแก้ว  อบต.หญ้าปล้อง เทศบาลตำบลน้ำคำ  อบต.ทุ่ม  อบต.ตะดอบ  อบต.ซำ  อบต.จาน  อบต.คูซอด  อบต.โพนค้อ  อบต.โพนข่า และ อบต.  โพนเขวาโดยบันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่ วันที่ 30 พ.ค.2565 สิ้นสุด วันที่ 30   พ.ค. 2568นายวัฒนา   พุฒิชาติ  ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า  ข้อมูล Big Data เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการเมื่อเราจะทำงานในการแก้ไขปัญหาการพัฒนาอะไรต่างๆก็ตามแต่ ถ้าหากขาดข้อมูลที่แม่นยำถูกต้องสมบูรณ์ เราใช้คำว่าแม่นตรงการที่จะพัฒนาต่างๆให้ไปได้นั้นก็คงจะลำบาก ซึ่งหากมีการศึกษาหาเป้ารวมทั้งต้องหาข้อมูลต่างๆมาสังเคราะห์วิเคราะห์ต่างๆให้มีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานก็จะเป็นสิ่งที่ดี เพราะฉะนั้นนี่คือการรวบรวมขณะเดียวกันอีกส่วนหนึ่งคือการนำข้อมูลที่เรียกว่าการคืนข้อมูลนี้ไปให้ยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก้ไขปัญหาได้ตามแต่ละท้องที่ก็จะยิ่งเกิดประโยชน์ เช่นกรณีวันนี้มีการทำงานขององค์กรในพื้นที่ในเขตอ.เมืองศรีสะเกษเพื่อนำร่องในการที่จะทำงานร่วมกันในการที่จะรับเอาข้อมูลเหล่านี้เพื่อจะได้นำเอาไปบริหารจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่ต่อไป ซึ่งแต่ละตำบลก็อาจจะมีอัตลักษณ์มีรูปแบบใหม่ที่มีความเหมือนและความต่างที่เป็นอยู่ ซึ่งส่วนนี้ก็เป็นหนึ่งในกระบวนการเป็นโมเดลที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จแม่นตรงของมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษรวมทั้งหน่วยที่บริหารจัดการในพื้นที่และ                 จ.ศรีสะเกษได้ขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายร่วมกันอย่างเต็มที่ต่อไปภาพ / ข่าว ศิริเกษ   หมายสุข ผู้สื่อข่าวประจำ จ. ศรีสะเกษ

ศรีสะเกษ เปิดนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมแก้จนคนศรีสะเกษ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับตำบลในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ มีการปลูกและแปรรูปผักกะแยง ผักพื้นถิ่น การเลี้ยงและการแปรรูปจิ้งหรีดผง สัตว์เศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 65   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องศรีลำดวน 2 โรงแรมศรีลำดวน อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ                                      นายวัฒนา   พุฒิชาติ  ผวจ.ศรีสะเกษ ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมแสดงผลงาน "นวัตกรรมแก้จน คนศรีสะเกษ"  ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดงานนี้ขึ้น ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงผลงานการวิจัย ผลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย ออกสู่สาธารณะและแสดงศักยภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนของพื้นที่ อ.เมืองศรีสะเกษ เพื่อนำเสนอ WATANA MODEL แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน จ.ศรีสะเกษ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับตำบล ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ และแม่นยำ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ มีการนำเอาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านและผลงานของ ร.ร.ต่าง ๆ  มาแสดงจำนวนมาก  โดยมี รศ.ดร. ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นผู้กล่าวรายงาน มีคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องมาให้การต้อนรับและร่วมพิธีในครั้งนี้รศ.ดร. ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตระหนักถึงบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น หนึ่งในพันธกิจที่สำคัญคือการวิจัยและสร้างนวัตกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ และวาระการขับเคลื่อนจังหวัดศรีสะเกษ บนเส้นทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน (10 agenda) ในปีงบประมาณ 2563 – 2565 มหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่อง "การวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีจังหวัดศรีสะเกษ" จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีความสอดคล้องกับวาระจังหวัด ในด้านผู้ด้อยโอกาส ในปีงบประมาณ 2564 ปีที่ 2 ของการทำวิจัย มีพื้นที่เป้าหมายการวิจัย คือ อ.เมืองศรีสะเกษ ในการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนให้เป็นโมเดลแก้จน (OM) รศ.ดร. ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวต่อไปว่า ได้มีการดำเนินการใน 4 โครงการ ได้แต่ 1.การปลูกและแปรรูปผักกะแยง ผักพื้นถิ่น มีกลิ่นเฉพาะตัว เป็นเครื่องปรุงอาหารอัตลักษณ์ของคนอีสาน 2. การเลี้ยงและการแปรรูปจิ้งหรีดผง สัตว์เศรษฐกิจ แหล่งโปรตีนที่สำคัญ เลี้ยงง่าย โตเร็ว 3. ผ้าทอศรีลำดวน : ทุนทางวัฒนธรรมบนความเหลื่อมล้ำของครัวเรือนคนจน ลายดอกลำดวนดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ และ 4. แนวทางการจัดตั้งกองทุนน้ำยั่งยืน เพื่อสวัสดิการครัวเรือนคนจน ตำบลนำร่อง เพื่อยกระดับรายได้ของกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ทั้งนี้การดำเนินการวิจัยดังกล่าวได้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ได้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้รับความร่วมมือจาก ทุกหน่วยงานในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ท้องถิ่นจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานสาธารณสุข สำนักงานเกษตรและสหกรณ์สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานชลประธาน องค์การบริหารส่วนตำบล 18 พื้นที่ อำเภอเมือง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกโครงการ ภาพ / ข่าว ศิริเกษ   หมายสุข ผู้สื่อข่าวประจำ จ. ศรีสะเกษ

ศรีสะเกษ คืบหน้าชาวบ้านห้วยทับทันลุกฮือล้อมกรอบเจ้าหน้าที่จับกุมจุดบั้งไฟเถื่อน

ผู้ว่าสั่งสอบด่วนแล้ว ยันไม่ได้ไปกลั่นแกล้งใครทุกอำเภอจะต้องปฏิบัติตามประกาศจังหวัดศรีสะเกษอย่างเคร่งครัดผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่มีภาพเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเขต ต.จานแสนไชย อ.ห้วยทับทัน                         จ.ศรีสะเกษ  พากันลุกฮือเข้าไปขับไล่เจ้าหน้าที่ ตร.และฝ่ายปกครอง อ.ห้วยทับทัน  ขณะที่กำลังเข้าไปทำการตรวจสอบจับกุมผู้จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในพื้นที่เขต ต.จานแสนไชย อ.ห้วยทับทัน  หลังจากที่มีการแอบลักลอบนำบั้งไฟขนาดใหญ่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมาจุด  โดยชาวบ้านจำนวนมากได้พากันกรูเข้าไปล้อมกรอบเจ้าหน้าที่และได้พากันขว้างเศษสิ่งของดินหินเข้าไปใส่เจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบจับกุมบั้งไฟเถื่อน ซึ่งนั้นชาวบ้านได้มีการนำเอาบั้งไฟขนาด 5 นิ้วขึ้นไปบนฐานจุดบั้งไฟแล้ว แต่ว่าเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้จุดบั้งไฟ เนื่องจากว่า ขนาดบั้งไฟใหญ่เกินกว่า 3 นิ้วซึ่งเป็นการฝ่าฝืนประกาศคำสั่งจังหวัดศรีสะเกษ  มีการร้องตะโกนบอกให้ชาวบ้านใจเย็น ๆ  แต่ว่าชาวบ้านไม่ยอมฟัง ยังคงถือท่อนไม้วิ่งฮือกันเข้าไปและขว้างปาสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่  เหตุการณ์เป็นไปอย่างโกลาหลชุลมุนวุ่นวาย   สุดท้ายชาวบ้านได้ยอมให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงใกล้ค่ำของวันที่ 28 พ.ค.65  ที่ผ่านมา ตามข่าวที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้นความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 30 พ.ค. 2565  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมโรงแรมศรีลำดวน อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ  นายวัฒนา  พุฒิชาติ  ผวจ.ศรีสะเกษ ได้กล่าวถึงกรณีการลักลอบจุดบั้งไฟเถื่อนและชาวบ้านจานแสนไชยล้อมกรอบเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปจับกุมการจุดบั้งไฟขนาดที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดว่า ตนได้มีการกำชับใน 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือประการแรกคือการจุดบั้งไฟจะต้องเป็นไปตามประกาศของ จ.ศรีสะเกษ คือจะต้องผ่านกระบวนการของการขออนุญาตผ่านทางวัฒนธรรมและส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องขึ้นมา โดยจะต้องมีผู้รับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญา มีรูปลักษณะโครงการจัดงานประเพณีประการที่2 คือขนาดของบั้งไฟก็จะต้องอยู่ภายใต้กรอบที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเป็นอะไรต่างๆ ก็คงจะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อจะได้ทำประกาศจังหวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นก็ถือว่าเป็นประกาศที่เราใช้แต่เดิมมาซึ่งในฤดูกาลประเพณีบุญบั้งไฟปีนี้ก็จะสิ้นสุดในวันที่ 30 พ.ค.65นี้แล้ว ส่วนหนึ่งประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งปีนี้ตนก็ได้ผ่อนคลายให้จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้แต่ไม่ยอมให้กรณีที่ไม่ได้รับอนุญาตไปลักลอบจุดบั้งไฟ ตนได้ให้ทีมปกครองจังหวัดและเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกส่วนที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบและได้ทำการจับกุมรวมทั้งกรณีการจุดบั้งไฟเกินขนาดด้วยนายวัฒนา  พุฒิชาติ  ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่ชาวบ้าน ต.จานแสนไชย อ.ห้วยทับทัน                            จ.ศรีสะเกษ ได้พากันลุกฮือขึ้นมาขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ห้ามไม่ให้มีการจุดบั้งไฟที่มีขนาดเกินกว่าที่ประกาศ จ.ศรีสะเกษกำหนดไว้นั้น เรื่องนี้ตนได้สั่งการให้ทำการตรวจสอบว่าเป็นไปอย่างเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากว่าเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งการตามเงื่อนไขที่ได้วางกติกากันเอาไว้ก่อนแล้ว เพราะอย่างนั้นพี่น้องประชาชนก็จะต้องเข้าใจว่าการปฏิบัติหน้าที่นั้นจะต้องเป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้ เราไม่ได้ไปกลั่นแกล้งใครโดยทุกอำเภอก็จะต้องปฏิบัติตามประกาศ                         จ.ศรีสะเกษนี้ ซึ่งตนได้สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงไปแล้ว ทั้งกรณีที่การลักลอบจุดบั้งไฟและการที่มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้น รวมทั้งให้มีการตรวจสอบไปถึงว่า การที่มีการลักลอบจุดไฟนั้นมีข้าราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือใครต่างๆเข้าไปมีส่วนรู้เห็นอะไรต่างๆหรือไม่ ซึ่งตนได้เร่งรัดให้เร่งดำเนินการตรวจสอบและรายงานให้ทราบ โดยตนได้มอบให้ทางอำเภอที่เกิดเหตุได้ทำการตรวจสอบ หากผลการตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เหมาะสมหรือข้อเท็จจริงไม่เป็นที่สมบูรณ์ ตนก็จะดำเนินการสั่งให้ตรวจสอบใหม่อีกครั้งอย่างต่อเนื่องต่อไปภาพ / ข่าว  ศิริเกษ   หมายสุข ผู้สื่อข่าวประจำ จ. ศรีสะเกษ 

จังหวัดร้อยเอ็ด/.... ชาวอำเภอสุวรรณภูมิเชิญชมการเอ้บั้งไฟ ด้วยลาย"กรรไกรตัดของปราชญ์แห่งท้องทุ่งกุลา"เสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนา"ทุกปี

ปีนี้๒๕๖๕/เสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนาตรงกับวันที่ ๔ และวันที่ ๕  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ชาวอำเภอสุวรรณภูมิจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟซึ่งเป็นงานที่มีบั้งไฟเอ้ด้วยลาย"กรรไกรตัดของปราชญ์แห่งท้องทุ่งกุลาที่สวยงาม (ลายศรีภูมิ หรือ ลายกรรไกรตัด) วันที่ 4 มิถุนายน 2565 ชมขบวนบั้งไฟแบบโบราณ และการรำเซิ้งแบบโบราณ จาก ชุมชนต่างที่ เข้าร่วม วันที่ 5 มิถุนายน 2565 ชมการจุดบั้งไฟบูชา พญาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้          การเอ้บั้งไฟ  หรือ  การตกแต่งบั้งไฟ "เอ้"เป็นภาษาถิ่นอิสาน ความหมาย คือ  ตกแต่ง ประดับ ให้สวยงาม   อำเภอสุวรรณภูมิ  ที่นิยมตกแต่งบั้งไฟ ด้วยลายกรรไกรตัด (มากกว่า 200 ปี) องค์ประกอบของบั้งไฟลายศรีภูมิ อำเภอสุวรรรภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดลักษณะพิเศษของลายกรรไกรตัด นั้น พบว่า การตัดกระดาษนั้น เส้นลวดลาย ทุกเส้น จะไม่มีการขาดออกจากกัน'"บั้งไฟลายศรีภูมิ"' มีองค์ประกอบหลัก 8 ประการ ได้แก่1.ลายลูก ใช้ลายกรรไกร กระดาษจังโกสีแดง พื้นใช้กระดาษขัดมันสีเหลือง2.ลายปลอก ใช้กระดาษขัดมันสีเหลือง มีการประดิษฐ์ลวดลายแข่วหมา (ฟันสุนัข) สลับสีดำ แดง เหลือง เป็นเส้นขนาดเล็ก ประดับกับลายประจำยาม3.ประดิษฐ์ลายแส้" หรือ แส้พระอินทร์ เป็นเส้นเล็ก ๆ พับด้วยกระดาษขัดมันสีดำ สลับเหลืองสอดอยู่ระหว่างลูกบั้งไฟ4.อกนาค ใช้ไม้แกะสลักมีขนาดใหญ่เต็มหัวบั้งไฟ ลงสีสันเป็นเกล็ดนาค ด้วยสีเหลือง ส้ม แดง และดำ5.หัวนาค ใช้ไม้แกะสลัก เป็น พญานาค ประกอบลายกนก สีเหลือง ส้ม แดง และ ดำ ปากนาค ขยับขึ้นลง พร้อมประดิษฐ์ให้สามารถพ่นน้ำได้6.แผงนาค ใช้ไม้ลงสีสัน เป็นเกล็ดนาค ด้วยสีเหลือง ส้ม แดง และดำ7.หางนาค เป็นลายกนก ลงสีสันสลับกันกับแผงนาค และหัวนาค อย่างลงตัว8.ยาบบั้งไฟ ด้วยการหนีบกระดาษเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายกนก ลานประจำยาม ลายพู่ ลายเฟื่อง ลายแข่วหมา (ฟันสุนัข) ตัวลายใช้กระดาษจังโกสีแดง พื้นลายใช้กระดาษขัดมันสีเหลืองสลับกับลายเส้นแข่วหมา (ฟันสุนัข) ธวัชชัย// ร้อยเอ็ด/ภาพสุเทพ     ลอยแก้ว/ข่าวขอบคุณข้อมูล:  //คุณสุพจน์ หินกอง

นครนายก - วัดสุตธรรมมารามจัดพิธีถวายผ้าป่าสามัคคีและสงฆ์น้ำ​พระ​

เมื่อเวลา 13.00 น.ของวันที่ 17 เมษายน 2567 ที่วัดสุตธรรมมาราม ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก พระครูธรรมสุตาภรณ์ (หลวงปู่บุ...