ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ฝ่ายบรรเทาและสาธารณภัยรายงานผลการปฏิบัติงานเจาะบ่อน้ำบาดาล เจาะครบ 10 บ่อ

ที่อำเภอหนองบัว ตามใบอนุญาต ยังเป่าล้างต่อจากนโยบายของพลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ที่ต้องการแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องการขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้และน้ำทำการเกษตร จึงมอบหมายสั่งการให้ นางทัศวลี ผึ้งสีใส หัวหน้าฝ่ายบรรเทาและสาธารณภัย อบจ.นครสวรรค์ นำคณะช่าง ออกเร่งทำการเจาะบ่อบาดาลตามใบอนุญาตที่ได้รับมา พร้อมทั้งทำการเป่าล้างบ่อบาดาลเก่าเพื่อให้สามารถใช้การได้ดีกว่าเดิมล่าสุดนางทัศวลี ผึ้งสีใส หัวหน้าฝ่ายบรรเทาและสาธารณภัยรายงานว่า ได้นำคณะช่างเข้าพื้นที่หมู่ที่ 7 ต.วังบ่อ อ.หนองบัว เพื่อทำการขุดเจาะบ่อบาดาล บ่อที่ 10 โดยสามารถเจาะได้น้ำที่ความลึก 88 เมตร  มีปริมาณน้ำ 15 ลบ.ม./ชม. นับว่าเป็นการเจาะบ่อบาดาลครบ 10 บ่อ ตามใบอนุญาตเจาะบ่อบาดาลในเขต อ.หนองบัว ฝ่ายบรรเทาฯจึงทำการปิดจ๊อบพื้นที่ อ.หนองบัวส่วนรถเจาะบ่อ จะต้องนำเข้าซ่อมบำรุง เนื่องจากซีลน้ำมันเครื่องคอนโทรล หมดอายุ จำเป็นต้องเปลี่ยนตามสภาพ คาดว่าจะสามารถออกปฏิบัติการหน้างานได้ในสัปดาห์หน้าอีกส่วนหนึ่งเป็นการรายงานผลการปฏิบัติงาน การเป่าล้างบ่อบาดาล คือ1. เป่าล้างบ่อน้ำบาดาล ในพื้นที่ หมู่ 10 ต.วังเมือง อ.ลาดยาว บ่อมีความลึก 82 เมตร, ได้ปริมาณน้ำหลังเป่าล้าง 2 ลบ.ม./ชม.2. เป่าล้างบ่อน้ำบาดาล ในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านหนองมะละกอ ต.วังเมือง อ.ลาดยาว  จำนวน 1 บ่อ ความลึก 62 เมตร, ปริมาณน้ำหลังเป่าล้าง  2 ลบ.ม./ชม.!!!! ต้อย​ รอบ​รั้ว​ ภูธร​0979998240!!!!! 

“บ้านดอยผักกูด” หมู่บ้านยามชายแดน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จากชุมชนเพื่อความมั่นคง สู่สุดยอดหมู่บ้านกาแฟไทย

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2549 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง    ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรบ้านเมืองแพม หมู่ที่ 5 ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กราบบังคมทูลถวายรายงานแนวทางการพัฒนาจังหวัดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และข้อมูลหมู่บ้านเมืองแพม และผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 3 ได้กราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าโครงการจัดตั้งหมู่บ้านยามชายแดน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านมะโอโคะ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก, บ้านปางคอง ตำบลนาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า และบ้านแม่ส่วยอู ตำบลผาบ่อง  อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน การเสด็จฯ ในครั้งนี้ได้มีพระราชดำริให้ กรมชลประทานพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือราษฎรบ้านเมืองแพม ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรกรรม เนื่องจากฝายทดน้ำเดิมชำรุดจากอุทกภัย ทำให้ไม่สามารถใช้การได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงฤดูแล้ง  นอกจากนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชดำริกับ  พลเอก นิพนธ์ ภารัญนิตย์ ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ สรุปความว่า ให้หมู่บ้านปางคาม ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหมู่บ้านปายสองแง่ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านในโครงการจัดตั้งหมู่บ้านยามชายแดน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร และเพื่อประโยชน์ในด้านความมั่นคงของประเทศชาติต่อไป สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสนพระทัยในความปลอดภัยของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทรงมีพระราชดำริ “ให้พิจารณาหาแนวทางในการดำเนินงานจัดตั้งหมู่บ้านในรูปแบบบ้านยามชายแดน เพื่อพัฒนาราษฎรในพื้นที่ให้เข้มแข็ง มีส่วนร่วมรักษาประเทศชาติอย่างมีระบบ  ตามแนวทางของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร” ปัจจุบัน หมู่บ้านยามชายแดน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ “บ้านดอยผักกูด” ได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ จนเป็นชุมชนเข้มแข็ง เป็นสถานที่เพาะปลูกกาแฟ อราบิก้า ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ได้รับรางวัลถ้วยรางวัลพระราชทานของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดสุดยอดกาแฟไทย ปี 2564 (Thai Coffee Excellence 2021) ในการประกวดคัดสรรสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ตามโครงการประชาสัมพันธ์สุดยอดกาแฟไทย ปี 2564 โดย กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับ กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยการสนับสนุนจากองค์การกาแฟระหว่างประเทศ เนื่องด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นที่ราบระหว่างหุบเขาของฝั่งลำห้วย  เป็นต้นน้ำของน้ำแม่ลาง ซึ่งจะไหลผ่าน บ้านแอโก๋ และอำเภอปาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,423 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด ประมาณ 1,865 เมตร ซึ่งการปลูกกาแฟ เกษตรกรปฎิเสธการใช้สารเคมีใดๆ ในพื้นที่ จนกลายเป็นกาแฟออแกนิค อีกทั้งการเมล็ดกาแฟคั่วด้วยมือที่ต้องอาศัยประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และภูมิปัญญาของชาวบ้าน และการรักษาคุณภาพของการคั่วกาแฟเป็นที่สำคัญอย่างยิ่ง คือความใส่ใจของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้กาแฟดอยผักกูด มีคุณภาพที่สูงสามารถทัดเทียมได้ในระดับสากลได้ ทั้งนี้ ยังได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สำหรับคนรักกาแฟ สามารถเยี่ยมชมการปลูก การคั่ว ไปจนถึงการลิ้มรสกาแฟคั่วมือบ้านดอยผักกูด ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม เมื่อวันที่ 17 – 19 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา พลเอก นิพนธ์ ภารัญนิตน์ รองประธานที่ปรึกษาโครงการพัฒนาราษฎรชาวไทยภูเขา และคณะ ได้เดินทางตรวจเยี่ยมผลการดำเนินโครงการฯ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่ ในการขับเคลื่อนแผนแม่บทโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ด้วยหลักการดำเนินการ 3 ประกอบด้วย 1. ระบบประชากร 2. ระบบป้องกัน และ 3. ระบบพัฒนา ส่วนระบบ 5 แผนงาน ประกอบด้วย 1. แผนรักษาแนวเขต 2. ส่งเสริมปัจจัยพื้นฐาน 3. เส้นทางคมนาคม 4. ส่งเสริมอาชีพ และ       5. การขออนุมัติโครงการพัฒนาฯ เพื่อการพัฒนาให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนสืบไป ในการนี้ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ขอเชิญชวนข้าราชการทหาร    ในสังกัดกองทัพภาคที่ 3, พี่น้องประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ และเหล่านักท่องเที่ยวมาสัมผัส เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย รวมทั้งได้ลิ้มลองสุดยอดกาแฟไทย สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเดินทางโดยใช้ทางหลวงแผ่นดิน 1095 ผ่านอำเภอแม่ริม ถึงอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร จากนั้นสามารถเดินทางไปยังโครงการฯ ได้ 2 เส้นทาง หรือสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 089-5543875  คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 324 กุมภาพันธ์ 2565

กองทัพภาคที่ 3 ขอเชิญร่วมศึกษาเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ทหาร

ตามที่ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และเพื่อให้สอดคล้องตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการกระจายความมั่นคงทางเศรษฐกิจสู่ชุมชนทั่วประเทศ นั้น กองทัพบก ร่วมกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตทหาร ภายใต้โครงการ “Army Land” ดินแดนท่องเที่ยวในเขตทหาร เพื่อเปิดบริการให้ประชาชนได้เข้ามาท่องเที่ยว พักผ่อน หรือร่วมกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งเป็นการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ เป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ได้เลือกใช้บริการแหล่งท่องเที่ยวอย่างหลากหลาย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชนทหารและครอบครัว รวมถึงประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์ทหาร เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ความเป็นชาติไทย และเป็นสถานที่เชิดชูเกียรติของบรรพบุรุษที่พลีชีพเพื่อชาติ กระตุ้นเตือนให้คนไทยได้เห็นภัยความแตกแยกทางความคิด และปัญหาของภัยสงครามในอดีต รวมถึงเป็นที่ศึกษาหาความรู้ และพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป นั้น สำหรับพิพิธภัณฑ์ทหาร ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 ที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชม เพื่อให้พี่น้องประชาชน ได้ร่วมกันศึกษาเรียนรู้ งานความมั่นคงของชาติ ในอดีตที่ผ่านมา จำนวน 8 แห่ง ดังนี้ 1. พิพิธภัณฑ์ทหาร กองทัพภาคที่ 3 และพิพิธภัณฑ์ทหารกลางแจ้ง กองทัพภาคที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 055-242859 ต่อ 73288 2. พิพิธภัณฑ์อาวุธและการสู้รบ (ฐานยิงสนับสนุนอิทธิ) อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 056-721934 ต่อ 3120 3. พิพิธภัณฑ์โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 081-2845223 4. พิพิธภัณฑ์บ้านป่องนัก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 054-225941-6 5. พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถาน 17 ทหารกล้า บ้านห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน 054-710321 6. พิพิธภัณฑ์ทหาร มณฑลทหารบกที่ 33 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 053-241644 ต่อ 75020 7. พิพิธภัณฑ์ทหาร มณฑลทหารบกที่ 37 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 053-711200 8. พิพิธภัณฑ์ทหาร กองพลทหารราบที่ 4 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 097-6013545 ในการนี้ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ขอเชิญชวนข้าราชการทหาร     ในสังกัดกองทัพภาคที่ 3, พี่น้องประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทหาร เพื่อศึกษาหาความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์การทหาร เพื่อส่งเสริมให้อนุชนรุ่นหลังได้เกิดความภาคภูมิใจ ในความรักหวงแหน เอกราชของประเทศชาติ ได้ช่วยกันปกป้องให้ประเทศสืบไป  คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 324 กุมภาพันธ์ 2565

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดน่าน ร่วมขับเคลื่อนโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ “สบขุ่นโมเดล”

บ้านสบขุ่น หมู่ที่ 7 ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นชุมชนตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ตั้งชุมชนและพื้นที่ถือครอง เพื่อการทำกินทางการเกษตรโดยมีพื้นที่เขต จังหวัดน่าน และจังหวัดพะเยา อยู่บนพื้นที่ภูเขาสูงชัน ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำยม ประชาชนเป็นชาวพื้นเมือง ตั้งถิ่นฐานมานานหลายชั่วอายุคน โดยประชาชนที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกันในช่วงแรก เป็นประชาชนที่อพยพมาจากหลายแห่ง ทั้งจากจังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา ปัจจุบันมีประชากร จำนวน 1,575 คน 319 หลังคาเรือน      ประชาชนบ้านสบขุ่น ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนใหญ่ โดยพื้นที่เพาะปลูกเป็นพื้นที่ภูเขาสูงและลาดชัน ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินสูง ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดินลดลงต่อเนื่องทุกๆ ปี ส่งผลให้ประชาชนต้องอาศัยปุ๋ยเคมีและสารเคมีในปริมาณที่มากขึ้น ในขณะที่สุขภาพอนามัยของเกษตรกรเสื่อมถอย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นทุกปี ประกอบกับในปัจจุบัน ราคาผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความผันผวน ในบางปีราคาผลผลิตราคาตกต่ำ ส่งผลให้ประชาชนประสบภาวะหนี้สินตามมา      ในการนี้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดน่าน จึงร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยน้อมนำแนวทางในการดำเนินงานตามกระบวนการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ซึ่งได้ข้อสรุปแนวทางในการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยสร้างอาชีพทางเลือกให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ให้สามารถมีรายได้เพียงพอในการดำรงชีพอยู่ร่วมกับป่า ได้โดยไม่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการสนับสนุนการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิก้า ซึ่งเป็นพืชที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสามารถทดแทนการปลูกข้าวโพดได้ และต้องอาศัยพืชพี่เลี้ยงที่เป็นร่มเงาในการเจริญเติบโต เหมาะสมกับแนวพระราชดำริฯ “สร้างป่า สร้างรายได้” นอกจากจะเป็นอาชีพทางเลือกทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ดิน น้ำและเพิ่มพื้นที่สีเขียวจะได้คืนผืนป่าตามลำดับ และเมื่อวันที่  21 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดน่าน ร่วมกับ สำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จังหวัดน่าน, เครือเจริญโภคภัณฑ์ ,อุทยานแห่งชาตินันทบุรี, หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ อำเภอท่าวังผา และผู้นำชุมชนบ้านสบขุ่น ในการตรวจเยี่ยมพื้นที่โครงการป่าสร้างรายได้ “สบขุ่นโมเดล” เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการฯ ที่ได้ร่วมดำเนินการขับเคลื่อนโครงการฯ มาตั้งแต่ปี 2559 รวมทั้งได้รวบรวมปัญหาในการดำเนินการ ไปประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางในการช่วยเหลือ เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวให้เกิดการพัฒนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย เพื่อให้คนอยู่ได้ (มีรายได้มั่นคงยั่งยืน) ป่าอยู่ดี (ธรรมชาติฟื้นคืนไม่ถูกทำลาย) และชุมชนอยู่อย่างมั่งมีความสุข (บนพื้นฐานความพอเพียง) สืบไปคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 324 กุมภาพันธ์ 2565

กองทัพภาคที่ 3 กับการแก้ไขสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ (24 กุมภาพันธ์ 2565)

ตามที่ประเทศไทย ได้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและคุณภาพอากาศ ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งปัจจุบัน สถานการณ์จุดความร้อนและค่าคุณภาพอากาศทางภาคเหนือ เริ่มส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการบริหารจัดการเชื้อเพลิง และการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่ทางการเกษตร รวมถึงปัญหาหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีปริมาณสูงขึ้น อีกทั้งประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ประกอบกับสภาพอากาศปิด ลมสงบนิ่ง จึงส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศโดยรวมของพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมาก นั้น   ในการนี้ กองทัพภาคที่ 3 และทุกภาคส่วนได้ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาและร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ในการลดปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนืออย่างจริงจัง รวมทั้งได้วางแผนในการควบคุมการเผา และการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ดังนี้1. เชียงราย  งดเผา 15 กุมภาพันธ์ - 15 เมษายน 65 จำนวน 60 วัน2. เชียงใหม่ งดเผา 1 มกราคม - 30 เมษายน 65 จำนวน 120 วัน3. ลำปาง งดเผา 1 มีนาคม - 30 เมษายน 65 จำนวน 61 วัน4. ลำพูน งดเผา 20 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 65 จำนวน 60 วัน5. แพร่ งดเผา 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 65 จำนวน 90 วัน6. น่าน งดเผา 15 กุมภาพันธ์ - 20 เมษายน 65 จำนวน 65 วัน7. พะเยา งดเผา 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 65 จำนวน 90 วัน8. แม่ฮ่องสอน งดเผา 20 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 65 จำนวน 70 วัน9. ตาก งดเผา 1 มีนาคม - 30 เมษายน 65 จำนวน 61 วัน10. อุตรดิตถ์ งดเผา 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 65 จำนวน 90 วัน11. พิษณุโลก งดเผา 16 ธันวาคม 64 – 30 เมษายน 65 จำนวน 136 วัน12. กำแพงเพชร งดเผา 16 ธันวาคม 64 – 30 เมษายน 65 จำนวน 136 วัน13. เพชรบูรณ์ งดเผา 16 กุมภาพันธ์ - 16 เมษายน 65 จำนวน 60 วัน14. นครสวรรค์ งดเผา 1 มกราคม - 30 เมษายน 65 จำนวน 120 วัน15. อุทัยธานี งดเผา 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 65 จำนวน 90 วัน ทั้งนี้ ในส่วนของจังหวัดพิจิตร และสุโขทัย จะได้กำหนดห้วงห้ามเผา ของคณะกรรมการจังหวัด และประกาศให้พี่น้องประชาชนทราบต่อไป อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จะประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนและถาวรได้นั้น    ต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการแก้ไขปัญหา โดยจะต้องประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน เกิดจิตสำนึกมีความรักและหวงแหนป่าไม้ในบ้านเกิด รวมถึงให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนต้องมีการวางแผนในให้เป็นระบบแบบแผนตามลำดับขั้นตอนได้อย่างมั่นคงและทันท่วงทีคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 324 กุมภาพันธ์ 2565

ยุทโธปกรณ์ทางทหาร กับการแก้ไขสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ

ตามที่ประเทศไทย ได้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและคุณภาพอากาศ ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งปัจจุบัน สถานการณ์จุดความร้อนและค่าคุณภาพอากาศทางภาคเหนือ เริ่มส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการบริหารจัดการเชื้อเพลิง และการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่ทางการเกษตร รวมถึงปัญหาหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีปริมาณสูงขึ้น อีกทั้งประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ประกอบกับสภาพอากาศปิด ลมสงบนิ่ง จึงส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศโดยรวมของพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมาก นั้น  ในการนี้ กองทัพบก โดย กองทัพภาคที่ 3 และทุกภาคส่วนได้ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาและร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ในการลดปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนืออย่างจริงจัง รวมทั้งได้นำยุทโธปกรณ์ทางทหารมาช่วยในการแก้ไขสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ ดังนี้ 1. ระบบอากาศยานไร้คนขับ (UAV Hermes 450) โดย UAV ได้ติดกล้องอินฟราเรด เพื่อจับความร้อนและรายงานผลกลับไปยังศูนย์ควบคุม สามารถค้นหา “Hot Spot” แบบ Real Time ซึ่งสามารถปฏิบัติภารกิจบินอยู่ในอากาศนานถึง 18 ชั่วโมง ที่ความสูง 18,000 ฟุต 2. เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ 17 (ฮ.ท.17) โดย ฮ.ท.17 สามารถลำเลียงน้ำได้เที่ยวละ 3,000 ลิตร บินด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงในการบินหรือเพดานบินอยู่ที่ 6,000 เมตร สามารถบินได้นาน 3 ชั่วโมง 20 นาที โดยใช้แหล่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ ทั้งนี้จึงขอเรียนให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือทราบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า กองทัพบก โดย กองทัพภาคที่ 3 มีความพร้อมที่จะสนับสนุนกำลังพลและยุทโธปกรณ์ทางทหารในการช่วยเหลือประชาชนยามวิกฤตทุกโอกาสคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 324 กุมภาพันธ์ 2565

มณฑลทหารบกที่ 38 ร่วมทุกภาคส่วน ค้นหา ช่วยเหลือประชาชนพลัดหลงป่า จังหวัดน่าน

จากเหตุการณ์ที่ได้รับแจ้งว่า ชาวบ้านสบมาง ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน จำนวน 4 คน ออกเดินทางจากบ้านสบมาง เพื่อไปหาปลาที่ขุนห้วยน้ำหมาวสายหมอก พื้นที่บ้านสว่าง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ตั้งแต่คืนวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 โดยนอนพักกลางทางที่สันเขาห้วยเดื่อ เขตรอยต่อ อำเภอบ่อเกลือ กับ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน และในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ทั้งหมดได้เดินทางถึงจุดหมายและได้สร้างที่พัก โดยให้เพื่อน 1 คนเฝ้าสัมภาระ อีก 3 คนออกไปหาปลาและนัดหมายกันว่าจะกลับเข้าที่พักช่วงเย็น จนเวลา 17.00 น. แต่เมื่อทั้ง 3 คน กลับมาที่พักกลับไม่เจอผู้เฝ้าสัมภาระ พบแต่เสื้อผ้า เครื่องนอน ทิ้งไว้ จึงได้ออกตามหาจนสุดความสามารถ ก่อนตัดสินใจเดินทางกลับและได้ตามหาระหว่างทาง จนถึงบ้านสบมาง ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 20.00 น. ก็ไม่พบตัว จึงมาแจ้งผู้ใหญ่บ้านสบมาง และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 325 พร้อมรายงานให้นายอำเภอบ่อเกลือ ทราบ ในการนี้ กองทัพภาคที่ 3 โดย มณฑลทหารบกที่ 38 สนธิกำลังร่วมกับ อำเภอบ่อเกลือ, ฝ่ายความมั่นคงอำเภอบ่อเกลือ, กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 325 ป่าไม้ (หน่วยภูคาที่ธารเสด็จ), อุทยานภูคา, อาสารักษาดินแดนบ่อเกลือ, ผู้นำชุมชน, ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านสบมาง อำเภอบ่อเกลือ และบ้านสว่าง อำเภอแม่จริม ปูพรมค้นหาชาวบ้านที่หายตัวไปในป่าพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า บริเวณขุนห้วยน้ำมวบ สาขาของน้ำว้า เขตติดต่อกับ อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา โดยล่าสุด เมื่อในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ชุดค้นหาพบตัวผู้สูญหาย บริเวณบนภูเขา เขตรอยต่อระหว่าง ตำบลแม่จริม - ตำบลหนองแดง อำเภอแม่จริม ห่างจากจุดตั้งแคมป์ 2 กิโลเมตร ทั้งนี้ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38 ได้ประสานอากาศยานกองทัพบก เพื่อลำเลียงผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ชุดค้นหาออกจากพื้นที่ป่า ขณะที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์ และทีมแพทย์ทหาร ได้เร่งเข้าช่วยเหลือและตรวจสอบสภาพร่างกายทันที หลังรับตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ก่อนจะส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลน่านต่อไป ทั้งนี้จึงขอเรียนให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือทราบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า กองทัพบก โดย กองทัพภาคที่ 3 มีความพร้อมที่จะสนับสนุนกำลังพลและยุทโธปกรณ์ทางทหารในการช่วยเหลือประชาชนยามวิกฤตทุกโอกาสคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 324 กุมภาพันธ์ 2565

จังหวัดเลย -​จัดแถลงข่าวการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ของจังหวัดเลย สร้างความรู้ความเข้าใจถึงขั้นตอนและวิธีการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา​

วันที่ 19 พ.ค.67 เวลา 14.00 น. นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมด้วย นายอนุกูล ศรีจันทร์งาม ผู้อำนวยการสำนักงานคณ...