ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

แพทย์ทหารเตือนภัย “ภาวะการสำลัก”

การสำลัก คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหล่นเข้าไปในช่องคอหรือหลอดลม ทำให้กีดขวางช่องทางการหายใจ ไม่สามารถหายใจได้ สาเหตุ เกิดจากเศษอาหาร หรือการดื่มน้ำเร็วเกินไป ส่วนในเด็กอาจเกิดจากการกลืนสิ่งของเล็กๆ เข้าไปปกติแล้ว การสำลักนั้นเกิดขึ้นแค่ครู่เดียว และดูเหมือนว่าจะไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงอะไร แต่การสำลักอาจเป็นอันตราย และคุกคามขั้นรุนแรงถึงชีวิตได้อาการสำลักอาการของคนสำลักที่สังเกตได้โดยทั่วไปนั้น มักจะใช้มือจับที่คอของตนเอง แต่หากผู้ที่สำลักไม่ได้ส่งสัญญาณดังกล่าว ให้สังเกตอาการต่อไปนี้1) หายใจไม่สะดวก หรือมีอาการหายใจแรงและเสียงดังผิดปกติ2) พูดคุยตอบสนองไม่ได้3) ไอแรง ๆ ไม่ได้4) ผิวหนัง ริมฝีปาก และเล็บเริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ เนื่องจากขาดออกซิเจน5) ขาดสติ ไม่รู้สึกตัวสาเหตุของการสำลักเด็กมักจะสำลัก เมื่อนำสิ่งของเข้าปากด้วยความอยากรู้อยากเห็น หรือเกิดการสำลักขณะที่กินอาหารเร็วเกินไป หรือพูดขณะที่กำลังมีอาหารอยู่ในปาก ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้ใหญ่สำลักนั้นมักเกิดจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด หัวเราะขณะกินอาการหรือดื่มน้ำเร็วเกินไปอาหารที่มักทำให้เกิดอาการสำลัก ได้แก่ ถั่วลิสง หมากฝรั่ง ป๊อปคอร์น ลูกอม ไส้กรอก ผักและผลไม้ชิ้นใหญ่ๆ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ ลูกองุ่น และวัสดุเล็กๆ อย่างยางลบวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับเด็กทารก1. หากสังเกตเห็นว่าอยู่ดีๆ เด็กมีอาการที่แปลกไปคือ ดูเจ็บปวดและหายใจเสียงดัง ร้องไห้หรือไอไม่ได้ บางครั้งก็ไม่สามารถส่งเสียงร้องหรือหายใจได้ นั่นอาจหมายความว่าเด็กกำลังมีอาการสำลัก2. สิ่งที่ต้องทำเมื่อเด็กสำลัก คือ ตบหลัง นั่งลงและจับเด็กนอนคว่ำหน้าให้ขนานกับต้นขาและประคองหัวเด็กไว้ จากนั้นใช้สันมือตบเข้าไปแรงๆ 5 ครั้ง ระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้างของเด็ก3. ตรวจเช็คดูในปากของเด็กว่ามีอะไรอยู่ไหม ถ้ามีให้รีบใช้ปลายนิ้วหยิบออก ควรระวังไม่ให้สิ่งที่ติดอยู่ในปากของเด็กไหลกลับเข้าไปในคออีก4. หากการช่วยเหลือด้วยการตบหลัง ยังไม่สามารถเอาสิ่งแปลกปลอมที่ขวางทางเดินลมหายใจของเด็กได้ ให้ใช้วิธีกดที่หน้าอกของเด็ก ด้วยการจับให้เด็กนอนหงายหน้าขึ้นขนานกับต้นขา จากนั้นใช้นิ้ว 2 นิ้วกดลงไปตรงกลางใต้ราวนมของเด็ก 5 ครั้ง ตรวจดูภายในปากของเด็กว่ามีอะไรหลุดออกมาหรือไม่ แล้วหยิบออกอย่างระมัดระวัง5. หากช่วยเหลือด้วยวิธีข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาล ระหว่างที่รอรถพยาบาลมาถึงนั้น ให้ช่วยเหลือด้วยการตบหลังและกดหน้าอกสลับกัน จนกว่าสิ่งที่เข้าไปอุดตันทางเดินหายใจจะหลุดออกมาหรือรถพยาบาลมาถึง หากเด็กไม่หายใจให้เริ่มทำการกดหน้าอก หรือปั๊มหัวใจด้วยวิธีสำหรับเด็กทารก ซึ่งอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ในคอหลุดออกมาได้วิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับเด็กโต และผู้ใหญ่1. เมื่อสังเกตเห็นคนที่มีอาการสำลักให้พยายามกระตุ้นให้ผู้สำลักไอเพื่อให้สิ่งที่เข้าไปอุดตันทางเดินหายใจหลุดออกมาด้วยตัวเอง หากผู้สำลักไม่สามารถพูดคุย ร้อง หรือไอด้วยตัวเองได้ สามารถให้ความช่วยเหลือด้วยวิธีการดังนี้2. กระตุ้นให้ผู้ที่สำลักไอออกมา กรณีที่ผู้สำลักไม่สามารถไอให้สิ่งที่ติดอยู่ในคอหลุดออกมาเองได้ ให้่ช่วยประคองหน้าอกของผู้สำลัก แล้วเอียงตัวของผู้ที่สำลักไปด้านหน้า เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมที่ติดในคอหลุดออกมา3. หากการพยายามกระตุ้นให้ผู้สำลักไอด้วยตัวเองไม่ได้ผล ให้ประคองตัวผู้ที่สำลักโค้งไปทางด้านหน้า แล้วใช้สันมือตบเข้าไปแรง ๆ ระหว่างกระดูกสะบักทั้ง 2 ข้าง ควรทำซ้ำ 5 ครั้ง ตรวจสอบว่ามีอะไรหลุดออกมาหรือไม่ ถ้ามีให้รีบหยิบออก4. หากช่วยเหลือด้วยวิธีการตบหลังไม่ได้ผล ให้ยืนซ้อนหลังผู้สำลัก แล้วกดกระแทกที่ท้อง 5 ครั้ง โดยใช้แขนทั้ง  2 ข้าง โอบแนบกับผู้ที่สำลักเหนือสะดือ แต่ให้ต่ำกว่าระดับหน้าอก แล้วกำมือเป็นกำปั้น จากนั้นให้ดึงกระแทกกำปั้นทั้ง 2 ข้างเข้าหาตัวและขึ้นทางด้านบนอย่างเร็วและแรง ห้ามใช้วิธีการกระแทกที่ท้องกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และหญิงที่กำลังตั้งครรภ์5. หากยังสำลักอยู่ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาล ระหว่างที่รอรถพยาบาลให้ตบหลัง และกระแทกที่ท้องซ้ำจนกว่าสิ่งที่ติดในช่องคอผู้สำลักจะหลุดออกมา หรือจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง กรณีที่ผู้ที่สำลักหมดสติไป ให้ตรวจดูว่าเขายังหายใจอยู่ไหม หากไม่หายใจ ให้เริ่มทำการกดหน้าอกหรือป้๊มหัวใจซึ่งการปั๊มหัวใจนั้นอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ในคอหลุดออกมาได้ภาวะแทรกซ้อนของการสำลัก : การสำลักอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ในกรณีที่สำลักเพียงเล็กน้อยอาจเกิดการบาดเจ็บที่คอ หรืออาจเกิดอาการระคายเคือง แต่หากสำลักวัตถุขนาดใหญ่ และเกิดการอุดตันหลอดลมอาจเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจได้การป้องกันการสำลัก : เราสามารถป้องกันเด็กจากการสำลักได้ด้วยการไม่ให้เด็กเล่นวัตถุที่มีขนาดเล็ก เช่น เหรียญ ยางลบ บล็อคและของเล่นตัวต่อที่เด็กอาจสำลักและอุดตันหลอดลมได้ หั่นอาหารให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้ง่ายต่อเด็กในการกลืน กำชับไม่ให้เด็กคุยขณะกินอาหาร นอกจากนี้ เรายังสามารถป้องกันตัวเราเองจากการสำลักได้ด้วยการเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หลีกเลี่ยงการคุย หรือหัวเราะขณะกินอาหาร และควรมีน้ำดื่มอยู่ใกล้ตัวขณะกินอาหารด้วยในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 3    และแพทย์ทหาร จึงมีความห่วงใยต่อข้าราชการทหาร ในสังกัดกองทัพภาคที่ 3 และพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ต่อภาวะดังกล่าว ทั้งนี้ หากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการบ่งชี้ ขอให้ได้ไปพบแพทย์ ณ โรงพยาบาลทหารทั้ง 10 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือ หรือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็วคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 324 กุมภาพันธ์ 2565

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

*** สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ ร่วมกับ บริษัท เสริมสุข จำกัดจัดฝึกอบรม การประยุกต์ใช้งาน PLC ในงานอุตสาหกรรม ***

วันที่ 22 ธันวาคม 2567นายพงษ์ศักดิ์  โพธินาม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม โครงการพลิกโ...