ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

โครงการ “ป่าเปียก ลดเชื้อเพลิง สร้างรายได้”

กองทัพภาคที่ 3 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตระหนักถึงคุณค่าอเนก อนันต์ของน้ำ ทรงคํานึงว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้น จะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้หากรู้จักนําไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ เฉกเช่นเดียวกับพระราชดําริป่าเปียก เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่านั้น จึงเป็นมรรควิธี ที่ทรงคิดค้นขึ้นจากหลักการที่แสนง่ายแต่ได้ประโยชน์มหาศาล กล่าวคือ ยามที่เกิดไฟไหม้ป่าขึ้นคราใด ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะคํานึงถึงการแก้ปัญหา ด้วยการระดมสรรพกําลังกันดับไฟป่าให้มอด ดับอย่างรวดเร็ว แต่แนวทางใน การป้องกันไฟป่าในระยะยาวนั้น ยังดูเลือนรางในการวางระบบอย่างจริงจัง พระราชดําริป่าเปียก จึงเป็นพระราชดําริหนึ่งที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงแนะนําให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ทําการศึกษาทดลองจนได้รับผลสําเร็จเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งวิธีการสร้าง “ป่าเปียก” นั้น ได้แก่ วิธีที่ 1 ทําระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำ และแนวพืชชนิดต่างๆ ปลูกตามแนวคลอง วิธีที่ 2 สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก โดยอาศัยน้ำชลประทานและน้ำฝน วิธีที่ 3 โดยการปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้ความชุ่มชื่นค่อยๆ ทวีขึ้นและแผ่ขยายออกไป ทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทําให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่า เพราะไฟป่าจะเกิดขึ้นหากป่าขาดความชุ่มชื้น วิธีที่ 4 โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือที่เรียกว่า Check Dam ขึ้น เพื่อปิดกั้นร่องน้ำหรือลําธาร ขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทําให้ ความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็นป่าเปียก วิธีที่ 5 โดยการสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทําได้แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อย ให้ค่อยๆ ไหล ซึมดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป ภูเขาป่า ให้กลายเป็น ป่าเปียก ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย วิธีที่ 6 ปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กําหนด ให้เป็นช่องว่างของป่า ประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่า      ก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชอื่น ทําให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก แนวพระราชดําริป่าเปียก จึงนับเป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลักสําคัญ ที่จะช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ไฟป่าจึงเกิดได้ยาก การพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่สามารถทําได้ง่ายและได้ผลดียิ่ง ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 จึงมีดำริให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 3 ในพื้นที่ 17 ภาคเหนือ รวมทั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ทั้ง 17 จังหวัด ร่วมบูรณาการกับส่วนราชการ ภาคเอกชน และพี่น้องประชาชน ในการจัดทำโครงการ “ป่าเปียก ลดเชื้อเพลิง สร้างรายได้” โดยการลดการเผาและสร้างรายได้ มีรูปแบบการลดปริมาณเชื้อเพลิงที่หลากหลาย เช่น การปลูกข้าวโพดตัดขายแบบสดและลำต้นเป็นอาหารสัตว์, การเก็บตอซังข้าวโพดและตอซังข้าวแบบแห้ง เป็นอาหารสัตว์, การบีบอัดตอซังข้าวโพด อ้อย หรือกิ่งลำไย เพื่อเป็นเชื้อเพลิง และการสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวล การขนส่ง และรายได้ที่เหมาะสม รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างป่าเปียก อันเป็นการที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของป่าแล้ว ยังเป็นการป้องกันปัญหาไฟป่า และหมอกควันอีกทางหนึ่งด้วย กองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนช่วยกันฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูป่าไม้ ต้นน้ำน้ำลำธาร เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับแผ่นดิน สร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันเป็นการน้อมนำแนวทางตามพระราชดำริ อีกทั้งเป็นการป้องกันการเกิดไฟป่า หมอกควัน และอุ่นละอองในอากาศ รวมทั้งการสร้างรายได้อีกด้วย  คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 330 มีนาคม 2565

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ลาดยาว!!!!!เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568

วันนี้ 25 ธันวาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ​ บริเวณที่ว่าการอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ นางสาวสุ​วัชรี​ ศรี​กำ​พี้​ นายอำเภอ​...