ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565

แพทย์ทหารห่วงใย “ปิดเทอม อากาศร้อน ลงเล่นน้ำ เสี่ยงจมน้ำ” จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำ ระหว่าง

วันที่ 1 มกราคม - 30 มีนาคม 2565 พบเหตุการณ์ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำรวมทั้งหมด 64 เหตุการณ์ เสียชีวิต 57 ราย บาดเจ็บ 13 ราย แหล่งน้ำที่เกิดเหตุการณ์มากที่สุด ได้แก่ คลอง แม่น้ำ แหล่งน้ำที่ใช้ในเกษตรกรรม ทะเล และสระว่ายน้ำ ตามลำดับ โดยลักษณะเหตุการณ์ที่พบบ่อยได้แก่ เด็กลงเล่นน้ำโดยไม่แจ้งผู้ปกครองหรือไม่มีผู้ปกครองดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา อุบัติเหตุพลัดตกแหล่งน้ำที่ไม่มีขอบกั้น และเล่นน้ำในบริเวณที่มีคลื่นลมแรง      โดยในช่วงนี้พบการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการตกน้ำ จมน้ำ ในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี มากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่เด็กปิดเทอม อาศัยอยู่ที่บ้านเป็นหลัก ประกอบกับสภาพอากาศร้อน เด็กอาจชวนกันไปเล่นน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำที่ใช้ในเกษตรกรรม จึงอาจมีความเสี่ยงเหตุการณ์เด็กตกน้ำหรือจมน้ำได้     การป้องกันเหตุการณ์เด็กจมน้ำ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เช่น ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เน้นย้ำไม่ให้ไปเล่นน้ำตามลำพัง ไม่ไปตรงบริเวณห้ามเล่นน้ำ เช่น แหล่งน้ำลึก มีคลื่นลมแรง เป็นต้น และควรสอนวิธีว่ายน้ำเอาชีวิตรอดร่วมกับการขอความช่วยเหลือ สวมอุปกรณ์ป้องกันก่อนลงเล่นน้ำ เช่น เสื้อชูชีพ หรือห่วงยาง สำหรับบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ ควรร่วมดำเนินการร่วมกับชุมชนในการสำรวจแหล่งน้ำเสี่ยง จัดการแหล่งน้ำให้ปลอดภัย เช่น การสร้างรั้วกั้น ป้ายเตือน เตรียมอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง และให้ความรู้เรื่องแหล่งน้ำเสี่ยง การป้องกัน และการปฏิบัติตัวเมื่อพบคนตกน้ำหรือจมน้ำให้กับประชาชน รวมถึงเน้นย้ำโรงเรียนให้ความรู้เรื่องดังกล่าว กับนักเรียนอย่างต่อเนื่องตามบริบทพื้นที่ด้วยเช่นกัน ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 3 และแพทย์ทหาร จึงมีความห่วงใยต่อข้าราชการทหาร และบุตรหลาน ในสังกัดกองทัพภาคที่ 3 รวมทั้งพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ต่อภัยดังกล่าว โดยขอแนะนำประชาชน หากพบเห็นคนตกน้ำ ไม่ควรกระโดดลงไปช่วย เพราะอาจจมน้ำพร้อมกันได้ ควรใช้มาตรการ “ตะโกน โยน ยื่น” ดังนี้ 1) “ตะโกน” เรียกขอความช่วยเหลือ และโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669  2) “โยน” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำ 3) “ยื่น” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ผ้าขาวม้า ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ ทั้งนี้ โรงพยาบาลทหารทั้ง 10 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือ หรือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือประชาชนในคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 329 เมษายน 2565

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เจ้าหน้าที่ระดมสูบน้ำจากบึงบอระเพ็ดกักเก็บไว้ผลิตประปาหมู่บ้าน หลังในพื้นที่แล้งหนักฝนทิ้งช่วงยาวนาน​

เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขต8​ นายฐิตนนท์​ อุดมสุข​ ผู้อำนวยการศูนย์ ปภ.เขต​ 8 กำแพง​เพชร​ พร้อมด้วย​     นายพิสิษฐ์...