ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ MOU กับภาคีเครือข่ายเขตสุขภาพที่ 3 ขับเคลื่อนเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ ยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ร่วมกับ เขตสุขภาพที่ 3 จัดมหกรรมการประกวดและเชิดชูเกียรติต้นแบบการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ระดับเขตสุขภาพ ประจำปี 2565 "หนุ่มสาว ร่วมใจ สร้างสุขสู่สูงวัย ด้วยเมือง ในฝัน" ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุดีเด่น  ระดับจังหวัด พร้อมทั้งค้นหาพื้นที่ที่มีการดำเนินงานฯดีเด่น ระดับเขตสุขภาพ อีกทั้งภายในงานยังมีการอภิปราย เรื่อง “การเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทยและการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ” และการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพื้นที่ต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ จากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานเจ้าคณะจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครสวรรค์ ทั้ง 5 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัย ชัยนาท กำแพงเพชร พิจิตร         วันนี้ (22 กรกฎาคม 2565) แพทย์หญิงวิพรรณ  สังคหะพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมฯ ณ โรงแรม 42 ซี เดอะชิคโฮเทล จังหวัดนครสวรรค์ ว่า เขตสุขภาพที่ 3 ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายการบูรณาการความร่วมมือ การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (กลุ่มเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ) ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี โดยปัจจุบันเขตสุขภาพที่ 3  ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ซึ่งมีอัตราส่วนของประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ 20.39 และเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ในปี 2564 ร้อยละ 20.73 และปี 2565 ร้อยละ 21.55  โดยมีจำนวนผู้สูงอายุถึง 629,638 คน การเตรียมพร้อมเมืองเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุจึงถือว่ามีความจำเป็น เร่งด่วน และต้องมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการดำเนินการดังกล่าวต่อไป            ทางด้าน นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้นำแนวคิดเรื่องเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ (Age-Friendly Cities) ขององค์การอนามัยโลก WHO มาใช้ในประเทศไทย เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตร่วมกับทุกคนในสังคมได้อย่างเท่าเทียม สะดวกและปลอดภัย รวมถึงมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและน่าอยู่สำหรับผู้สูงวัย ซึ่งในปัจจุบันมีเมืองที่จัดเป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ 541 เมือง ภายใต้ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ที่อยู่อาศัย 2) การเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม 3) การได้รับการยอมรับในสังคม 4) การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและการจ้างงาน 5) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 6) การสนับสนุนของชุมชนและการบริหารด้านสุขภาพ 7) สภาพพื้นที่ภายนอกและตัวอาคาร และ 😎 ระบบขนส่งมวลชน ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนา ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรระดับท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญในการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุภายใต้ความร่วมมือกันจึงจะสำเร็จได้ด้วยดี        ทางด้าน แพทย์หญิงศรินนา แสงอรุณ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ กล่าวถึงการจัดงานในวันนี้     “ถือเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือขององค์กรภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนของเขตสุขภาพที่ 3 ที่แสดงให้เห็นถึงพลังที่ร่วมกันสร้างระบบ  การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยเฉพาะพื้นที่ ที่ได้รับรางวัลทั้ง 6 ประเภท ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุต้นแบบสุขภาพดี ชีวีมีสุข 2) ชมรมผู้สูงอายุ 3) นวัตกรรมด้านการส่งเสริมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 4) ตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) 5) ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) และ 6) ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) เป็นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุครอบคลุมทุกกลุ่ม  ทั้งกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง พร้อมสร้างเครือข่ายในการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุระดับจังหวัด โดยมีพื้นที่ต้นแบบที่ได้ดำเนินการ  โดยมุ่งเน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน รวมทั้งสิ้น 16 พื้นที่ ” ***ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์*** 22 กรกฎาคม 2565

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สถานีตำรวจภูธรตาคลี ร่วมกับ โรงพยาบาลตาคลี ซ้อมแผนเผชิญเหตุบุคคลคลุ้มคลั่ง การทะเลาะวิวาท และก่อเหตุความไม่สงบในโรงพยาบาล และมีพฤติกรรมรุนแรง เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 8 มกราคม 2568 พันตำรวจเอก สิทธิชัย  สิทธิโชคเดชาสกุล ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรตาคลี  พร้อมด้วย แพทย์หญ...