ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566

เมืองปากน้ำโพ จัดพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้ 23 ตุลาคม 2566 ที่บริเวณสนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์  เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2566 โดยมีนางวราภรณ์ เสริมภักดีกุล นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครสวรรค์ นางสาวชุติพร เสชัง นายชุมพิชญ์ เดชะรัฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ เข้าร่วมพิธีฯ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในวันปิยมหาราช ประจำปี พ.ศ.2566    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระบรมราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2411 และบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"    วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้ วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"      พระราชกรณียกิจสำคัญของรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2416 ยกเลิกระบบหมอบกราบ และกำหนดการแต่งกายของทหาร หลังจากกำหนดให้ทหารสวมเสื้อราชปะแตน เพื่อให้ดูเป็นระเบียเรียบร้อยแก่สายตาชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่อาศัยในพระนครมากขึ้น พระองค์ก็ทรงกำหนดยกเลิกการหมอบกราบกษัตริย์ การเลิกทาส ยกเลิกระบบไพร่ และยกเลิกระบบหมอบกราบ พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124 ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไท ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 และมีข้อกำหนดไม่ให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก    พ.ศ. 2417 สร้างสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสร้างโรงเรียนแห่งแรก ก่อตั้ง โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ภายในรัชสมัยของพระองค์ก็มีการก่อตั้งโรงเรียนอีกหลายแห่ง ตั้งโรงเรียนวัด และโรงเรียนสอนศาสนาอื่นๆ และประกาศให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศไทย ในปีดังกล่าวยังมีประกาศใช้เหรียญที่ทำมาจากทองแดง และธนบัตร ซึ่งประชาชนเรียกว่า “อัฐกระดาษ”    พ.ศ. 2424 ทดลองใช้โทรศัพท์สายกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ถือเป็นปีแรกที่ประเทศสยามมีโทรศัพท์ใช้    พ.ศ. 2426 ก่อตั้งระบบไปรษณีย์ โทรเลข ในกรุงเทพฯ เพื่อการสื่อสารในพระนคร    พ.ศ. 2431 ตั้งระบบปกครองส่วนกลางใหม่ และสร้างโรงพยาบาล ก่อตั้งระบบเขตการปกครอง มณฑล เทศาภิบาล อำเภอ และจังหวัด สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ภายหลังคือ “โรงพยาบาลศิริราช”      พ.ศ. 2433 ชาวพระนครได้ใช้ไฟฟ้าครั้งแรก หลังจากการสร้างโรงไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทย    พ.ศ. 2434 ก่อตั้ง กรมรถไฟ ก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และเดินรถไฟเอกชนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2436 คนไทยได้มีโอกาสใช้รถไฟครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 ในเส้นทางกรุงเทพฯ อยุธยา เป็นระยะทาง 71 กิโลเมตร ระยะแรกเดินขบวนทั้งหมด 4 ขบวน จอด 9 สถานีตั้งแต่กรุงเทพฯ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่า เส้นทางการรถไฟสายแรกคือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีกระทำพระฤกษ์ ณ ย่านสถานีกรุงเทพฯ     พ.ศ. 2436 ก่อตั้งสภากาชาดไทยสภากาชาดไทย ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดเหตุสงคราม ริเริ่มโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ ได้รวบรวมสตรีอาสาสมัครขึ้น และทำบันทึกกราบบังคมทูลต่อสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้ง สภาอุนาโลมแดงแห่งชาติสยาม เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์แก่ทหารที่บาดเจ็บ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เรี่ยรายเงินได้ 443,716 บาท จึงได้เริ่มก่อตั้งในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2436 ภายหลังได้ถูกเรียกชื่อว่าเป็นสภากาชาดไทย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้รับรองสภากาชาดไทยในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 และเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2464     พ.ศ. 2452 คนไทยได้มีน้ำประปาใช้ครั้งแรก ประชาชนได้ใช้น้ำประปาครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2452 จากการยกระดับการผลิตน้ำให้มีความสะอาดได้มาตรฐาน ผ่านการขุดคลองจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี เข้ามาทางสามเสน    นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานตัดถนนสายหลักสำคัญในเขตพระนครอีกหลายแห่ง เพื่อขยายเส้นทางคมนาคม เปลี่ยนจากการเดินทางโดยสารทางเรือมาเป็นทางบก🦋🦋ต้อย รอบรั้วภูธร 0619782952-0838823240 🦋🦋

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นครสวรรค์!!!!!เริ่มแล้ว ฤดูกาลท่องเที่ยว ทุ่งบัวแดง-บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์​ ์

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2567 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางล่องเรือสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวฤดูหนาวภายในเขตบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ และได้เดินทาง...