ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2567

#ถึงมือหมอนก-รอดแล้ว-นกแร้งดำ-หิมาลัย#

จากกรณีอาสาสมัครกู้ภัยได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่เทศบาล ตำบลลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร  พบนกไม่ทราบชนิดขนาดใหญ่บินหลงมาอยู่บนถนนทางเข้าเทศบาล ตำบลลานกระบือ จึงตรวจสอบพบนกขนาดใหญ่ อยู่ในสภาพอ่อนแรง ไม่มีท่าทีดุร้าย สามารถจับได้ง่าย จึงนำกลับมาที่บ้าน และได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรับไปดูแลล่าสุดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ทำการตรวจสอบพบเป็น "แร้งดำหิมาลัย" ซึ่งเป็นนกล่าเหยื่อจำพวกอีแร้งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขนาดลำตัวยาวประมาณ 102-104 เซนติเมตร ความยาวปีกจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง 2.9 - 3 เมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 7-12.5 กิโลกรัม ถือเป็นอีแร้งที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปเอเชียตัวผู้และตัวมีลักษณะเหมือนกัน ทั่วตัวมีขนสีดำ ตรงบริเวณหัวถึงคอมีขนน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย บริเวณรอบ ๆ คอมีขนขึ้นฟูคล้ายพวงมาลัย นิ้วสีออกขาว ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยมีลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลอ่อนกว่าแร้งดำหิมาลัย ไม่ใช่นกประจำถิ่นของไทย นอกจากอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาวของแต่ละปีเท่านั้น มีการกระจายพันธุ์ในทวีปยุโรปจนถึงภูมิภาคไซบีเรีย, เอเชียกลาง, จีน, อินเดีย จะอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและมีปริมาณน้อยมาก ในประเทศไทย อีแร้งดำหิมาลัย เป็นนกอพยพหายาก จะอพยพเข้ามาในฤดูหนาวบางปี จำนวน 1-2 ตัวเท่านั้น โดยแร้งจะร่อนมากับลมหนาวตั้งแต่เดือนธันวาคม มีรายงานพบที่จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบุรี นครราชสีมา ระยองและจันทบุรี และล่าสุดที่จังหวัดกำแพงเพชร มีอาการอ่อนแรงกางปีกบินไม่ได้ ทางนายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้ทำการรักษาในเบื้องต้นเพื่อฟื้นฟูร่างกาย ตั้งชื่อเล่นว่า #น้องช้าง และจะส่งต่อไปพักฟื้นร่างกายให้สมบูรณ์ที่หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ  จึงได้นำนกตัวดังกล่าวไปยังสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) พร้อมได้ทำการตรวจรักษาในเบื้องต้นเพื่อฟื้นฟูร่างกาย และตั้งชื่อเล่นว่า "น้องช้าง" จากการเปิดเผยของ  นายสัตวแพทย์หญิงพิมชนก สรงมงคล  นายสัตว์แพทย์ชำนาญการประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)   บอกว่าในขณะนี้น้องช้างหรือแร้งดำหิมาลัยได้อยู่ในความดูแลของคลินิกสัตว์ป่า  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ซึ่งจากการตรวจสภาพร่างกายเบื้องต้นไม่พบบาดแผล  หรือมีกระดูกหักแต่อย่างไร  แต่สภาพโดยรวมน่าจะมีสภาพร่างกายที่อ่อนล้า  หมดแรง  จึงไม่สามารถบินต่อไปได้  ซึ่งอยู่ในขณะทำการรักษาให้แข็งแรงกว่านี้ค่อยส่งต่อไปยังคณะส่งต่อไปยังหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมเพื่อดูแลต่อก่อนที่จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไปสำหรับแร้งดำหิมาลัย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2562  ทั้งนี้หากท่านใดพบเห็นแจ้งได้ที่สายด่วน 1362 ตลอด 24 ชั่วโมง
🦅ต้อย รอบรั้วภูธร 0619782952-0838823240 🦅

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"แพทย์ทหารห่วงใย “โรคผิวหนังอักเสบ” ภัยที่ควรระวังเมื่อเข้าฤดูหนาว"

   “โรคผิวหนังอักเสบ” เป็นภาวะที่ผิวหนังมีอาการแพ้ เกิดผื่น มีสะเก็ด และมีอาการคัน สามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ 1) สาเหตุภา...