วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567
คณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ ดำเนินงานตามมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการ และแนวทางพัฒนากิจการฌาปนกิจสงเคราะห์กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน-แพทย์ประจำตำบล-สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
วันอังคารที่ 9 มกราคม 2567 เวลา 09.30 น นายกรวีร์ ปริศนานันสกุล ประธานคณะกรรมาธิการ นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 2 และโฆษกคณะกรรมาธิการ นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล นายมณเฑียร สงฆ์ประชา กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง "เพื่อดำเนินการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอ่างทอง" โดยการดำเนินงานตามมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการ และแนวทางการพัฒนากิจการฌาปนกิจสงเคราะห์กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน- แพทย์ประจำตำบล-สารวัตรกำนัน-และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งผลการประชุมพิจารณาศึกษามาตรการและแนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการเมื่อวันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 โดยมีประเด็นเกี่ยวกับกรมการปกครอง สำนักนายกรัฐมนตรีโดยนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่ง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีอธิบดีกรมการปกครองเป็นกรรมการและเลขานุการร่วม โดยคณะกรรมการกำกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ได้กำหนดจัดการประชุม เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 มีการกำหนดประเด็นและมาตรการต่างๆในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นหน้าที่รับผิดชอบของกรมการปกครองซึ่งเปิดให้มีการลงทะเบียนสำหรับเจ้าหนี้และลูกหนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 หลังจากนั้นจะเริ่มเข้าสู่ขบวนการไกล่เกลี่ยอย่างจริงจังเพื่อลดจำนวนหนี้ให้ได้มากที่สุด 2. ด้านการบังคับใช้กฎหมาย เป็นหน้าที่รับผิดชอบของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยบูรณาการร่วมกับฝ่ายปกครองเพื่อติดตามเจ้าหนี้ที่มีพฤติกรรมในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 3. ด้านให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน เป็นหน้าที่รับผิดชอบของกระทรวงการคลัง ดำเนินการร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐในการปล่อยวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด ทางด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเชิงบูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน 1. การบูรณาการด้านข้อมูล นอกจากจะมีช่องทางผ่านสายด่วน 1599 และแจ้งเหตุที่สถานีตำรวจแล้ว ได้มีการเพิ่มช่องทางร่วมกับกระทรวงมหาดไทยที่เปิดให้ประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ และอีกส่วนคือรับข้อมูลจากสายด่วนของรัฐบาล 1111 2. การบังคับใช้กฎหมาย การกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบชัดเจนและครบองค์ประกอบความผิดจะมีการดำเนินการจับกุมตามกฎหมายทันที 3. ร้านไกล่เกลี่ยเชิงบูรณาการ เป็นการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ติดตามข้อมูลและลงพื้นที่เพื่อหาแนวทางในการไกล่เกลี่ยเชิงบูรณาการ ความเห็นทางคดีต้องสอดคล้องกันโดยกำหนดให้มีความเห็นขัดแย้งกันไม่เกินร้อยละ 10 ของสำนวนที่ส่งให้สำนักอัยการ ในส่วนของกระทรวงการคลังให้มีเจ้าหน้าที่ในการหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้กู้ โดยมีมาตรการเพื่อช่วยเหลือและรับรองลูกหนี้นอกระบบที่ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกับกรมการปกครอง🐵🐵ต้อย รอบรั้วภูธร 0619782952-0838823240 🐵🐵
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
นครสวรรค์!!!!!เริ่มแล้ว ฤดูกาลท่องเที่ยว ทุ่งบัวแดง-บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ์
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2567 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางล่องเรือสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวฤดูหนาวภายในเขตบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ และได้เดินทาง...
-
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ณ อาคารเอนกประสงค์สัมมนาและจัดการแสดงนิทรรศการบึงบอระเพ็ด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ นางสาวชุติพร...
-
สมศักดิ์" ลงพื้นที่ นครสวรรค์ น่า อสม. ขับเคลื่อนกลไกด้านสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงโรค NCDsตั้งเป๊าคนไทยต้องมีอายุคาดเฉลี่ย 85 ป...
-
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานในโครงการจังหวัดเคลื่อนที่"หน่วยบำบั...
-
พฤศจิกายน 2567ประชาชนคณะศรัทธาวัดป่าไม้แดง ได้ร่วมทำพิธีบวงสรวงเสาหลักเมืองไชยปราการ ซึ่งได้ตั้งไว้ในสถานที่วัดป่าไม้แดง(วัดพระเ...
-
วันนี้ 21 พฤศจิกายน 2567 นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วยนางวราภรณ์ เสริมภักดีกุล นายกเห...
-
เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หน่วยปางสัก ฝ่ายปกครองแม่เปินสมาชิก อส.กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการป่าชุมชน จนท.อุตสาหกรร...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น