ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567

น่าน-อำเภอปัว จังหวัดน่าน เตรียมพร้อม เปิดงาน เทศกาลโลกของกว่างนักสู้แห่งขุนเขา และงานของดีอำเภอปัว ประจำปี 2567

ที่ห้องประชุมพญาผานองชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอปัว จังหวัดน่าน นายชนินทร์  พันธุ์เหม์  นายอำเภอปัว เป็นประธานประชุม การจัดงาน เทศกาลโลกของกว่าง นักสู้แห่งขุนเขา ประจำปี 2567  โดยมี หน่วยงานภาคราชการ และผู้นำหมู่บ้านในพื้นที่ หมู่บ้านต่างๆ ของอำเภอปัว   ร่วมประชุม  ซึ่งในปีนี้ ได้จัดให้มีขบวนแห่ หุ่นกว่าง มีริ้วขบวนที่สวยงาม เพื่อแสดงออกถึงวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของชาวอำเภอปัว ในงานเทศกาลโลกของกว่าง นักสู้แห่งขุนเขา เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว  และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีของท้องถิ่น   ซึ่งจะได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20  -  29  กันยายน 2567   ทั้งนี้  เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของอำเภอปัวให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น                         กว่าง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง บางท้องถิ่นเรียกว่า แมงคาม เนื่องจากธรรมชาติมันชอบคามกัน (คาม เป็นการต่อสู้ของกว่าง โดยเอาเขาประสานกัน คีบและดันกันไปมา) หรืออาจเนื่องมาจากมักพบแมลงชนิดนี้อาศัยหากินอยู่ตามต้นคาม มีขนาดประมาณเท่าหัวแม่มือหรือโตกว่านั้นเล็กน้อย มีขา 6 ขา มีเขาสองเขา ใช้เป็นอาวุธต่อสู้กันจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมแพ้และหลีกทางไป ซึ่งบางครั้งตัวที่มีขนาดเท่าๆ กัน ใช้เวลาในการต่อสู้กันนานหลายชั่วโมง จึงได้รับฉายาว่า "นักสู้แห่งขุนเขา” กว่างมีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี โดยเริ่มจากไข่ ฟักตัวเป็นตัวอ่อนอยู่ในดิน ตามโพรงไม้ ตอไม้ผุๆ หรือกองขี้เลื่อย เรียกว่า(แมงกั่นตู่) จากนั้นจะเป็นดักแด้ แล้วลอกคราบเป็นแมลงกว่าง ออกจากดินบินออกมา หาคู่ผสมพันธุ์ วางไข่ในราวเดือน สิงหาคม-พฤศจิกายนแล้วตายไป กว่างตัวผู้จะมีเขาสองเขา 5 เขา โดยใช้เขาล่างงัดและหนีบศัตรูเพื่อแย่งตัวเมียในการผสมพันธุ์ มีหลายขนาด ตัวเล็กเขาสั้นเรียกว่า(กว่างกิ)ตัวปานกลางเขายาวปานกลางเรียกว่า(กว่างแซม)ตัวใหญ่เขายาวเรียกว่า(กว่างโซ้ง) ส่วนตัวเมียไม่มีเขาเรียกว่า อีโม๊ะ หรือ (อีหลุ้ม) ส่วนอาหารของกว่าง ตามธรรมชาติได้แก่เปลือกไม้ ยางไม้ที่มีรสหวาน เช่น ต้นคาม ต้นมะค่า เถารกฟ้า ส่วนอาหารที่คนนิยมนำมาเลี้ยงกว่าง เช่น อ้อย กล้วย แตงไทยน้ำตาลเป็นต้น                      ภายในงานเทศกาลโลกของกว่าง ประจำปี 2567  ในครั้งนี้ โดยภายในงานจัดให้มีการประกวด ขบวนแห่จากหมู่บ้านต่างๆ การละเล่นพื้นบ้านและวิถีชีวิตของชนเผ่า  การชนกว่าง  การประกวดกว่าง การประกวดร้องเพลงประกวดธิดากว่าง การเดินแฟชั่น การจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนของคนในพื้นที่ นำสินค้าทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ชุมชนออกมาวางจำหน่าย  นอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายสินค้าราคาถูก จากคาราวานสินค้านำมาจำหน่ายโดยภายในงาน  มีมหรสพทุกคืนด้วย   โดยในวันที่ 30 กันยายน 2567  หลังเสร็จสิ้นงาน จะมีการปล่อยกว่าง กลับคืนสู่ป่า เพื่อเป็นการให้กว่างได้ขยายพันธุ์  สมาน  สุทำแปง//น่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จังหวัดนครสวรรค์ จัดพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 07.00 น. ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ประธา...