ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

สธ. ปักหมุดแรกที่ภาคกลาง รณรงค์ “คนไทยห่างไกล NCDs”ปรับพฤติกรรมสุขภาพ ลดการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พร้อมเดินหน้าต่อทั่วไทย​

วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2567) ที่ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.วีรวุฒิ  อิ่มสำราญ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นางสาวชุติ​พร​ เส​ชัง​ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เปิดกิจกรรมการขับเคลื่อนนโยบายคนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยมีผู้บริหารทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในเขตสุขภาพที่ 3 และ 5 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม. ประชาชนทั่วไป ร่วมงานกว่า 2,000 คน​     นายสมศักดิ์กล่าวว่า คนไทยป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable disease : NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง เป็นจำนวนมาก คาดว่าจะมีถึง 33 ล้านคน และมีแนวโน้มที่       จะเพิ่มสูงขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น กินอาหารหวานจัด เค็มจัด ไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ นอนดึก มีความเครียดสูง เป็นต้น ทำให้เกิดความสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงถึงปีละ 1.6 ล้านล้านบาท จากค่ารักษาพยาบาลทางตรงและความสูญเสียทางอ้อม โดยข้อมูลปี 2560 ประเทศไทย          เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค NCDs สูงกว่า 62,138 ล้านบาท และมีคนไทยต้องเสียชีวิตจากโรค NCDs    ปีละกว่า 400,000 ราย กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายแก้ไขปัญหา โดยผลักดันการส่งเสริมสุขภาพและแนวคิดวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีไปสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ ให้เอื้อในการต่อสู้กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs สนับสนุนแนวคิดสุขภาพดี สิทธิประโยชน์เพิ่ม รวมถึงส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs เพื่อลดอัตราการป่วยก่อนเข้าสู่ระบบการรักษา“การขับเคลื่อนนโยบายคนไทยห่างไกล NCDs ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจจากบุคลากรสาธารณสุขและพี่น้อง อสม. ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการปรับพฤติกรรม ทั้งการกินอาหารให้เหมาะสมกับการใช้พลังงาน ด้วยการนับคาร์บหรือคาร์โบไฮเดรต ที่มาจากอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล รวมถึงมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยในผู้ป่วยรายเก่าและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนและรัฐบาลได้” นายสมศักดิ์กล่าว ​   ด้าน นพ.วีรวุฒิ  กล่าวว่า การขับเคลื่อนนโยบายคนไทยห่างไกล NCDs จะดำเนินการ 3 ส่วน ได้แก่             1) สร้างระบบบริการด้านสุขภาพ โดย จัดตั้งศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs พร้อมสร้างครู ก เป็นแกนหลัก เริ่มต้นอำเภอละ 1 ตำบล, จัดตั้ง NCDs Remission Clinic ในโรงพยาบาลทุกระดับ/รพ.สต.               ทุกจังหวัด และสร้างทีมผู้นำต้านภัย NCDs ทั้งระดับเขตในทุกจังหวัด ระดับอำเภอๆ ละ 1 ทีม และระดับ รพ.สต. ตำบลละ 1 ทีม 2) ส่งเสริมความร่วมมือสหสาขาวิชาชีพ โดยพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพในการดำเนินการ NCDs remission Clinic, พัฒนาคู่มือแนวทางการดำเนินงาน / ระบบรายงานข้อมูล 3) ให้ความรู้ อสม. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน เชิญชวนกลุ่มเสี่ยงเข้า     ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs พร้อมทั้งเป็นพี่เลี้ยงและติดตามผล​     โดยกิจกรรมขับเคลื่อนนโยบายคนไทยห่างไกล NCDs จะจัดขึ้น 6 ครั้ง ครอบคลุมทุกภูมิภาค ครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 3 ในพื้นที่ภาคกลาง คือ เขตสุขภาพที่ 3 และ 5 รวม 13 จังหวัด ซึ่งสถานการณ์โรค NCDs                 ในเขตสุขภาพที่ 3 ยังมีอัตราการป่วยตายและผู้ป่วยรายใหม่ โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับเขตสุขภาพที่ 5 ที่พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไตวายเรื้อรังรายใหม่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2567 มีอัตราผู้ป่วยไตวายเรื้อรังสูงกว่าระดับประเทศ รวมมูลค่ายาที่ใช้รักษาถึง 707 ล้านบาท สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เวทีเสวนาวิชาการ “ก้าวต่อไปเพื่อคนไทยห่างไกล NCDS” และบูธนิทรรศการความรู้เรื่อง NCDs # “คนไทยห่างไกล NCDs”#เมืองสี่แคว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เมืองปากน้ำโพรับมอบ!!!!!!ศิลปินแห่งชาติออกแบบและสร้างงาน “ปีกนางฟ้า” ประติมากรรม คลองญวนชวนรักษ์

                วันที่ 14 พ.ย. 67 เวลา 18.00 น. ที่คลองญวนชวนรักษ์ นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ทำพิธีรับม...