ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เดินหน้ารับฟังความคิดเห็น "ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิ.อาญา" ต่อเนื่องจัดเวทีเสวนาภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ที่นครสวรรค์

วันที่ 26 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์ฝึกตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์​สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) โดย พล.ต.ต.อ.กิดดิ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.นิรันดรเหลื่อมศรี รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รับผิดชอบงานด้านกฎหมายและคดี) ร่วมรับฟังการเสวนาทางวิชาการหัวข้อ "การคุ้มครองสิทธิของประชาชน บนเส้นทางการสืบสวนสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา" เพื่อรับฟังความคิดเห็น​ จากประชาชนและหน่วยงานในกระบวนการยุติธธรรมต่อร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อาญา (ร่างของ ส.ส.พรรคประชาชน) ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบน โดยมี พล.ต.ท.กิติศักดิ์ ดรงควิบูลย์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 พล.ต.ท.วสันต์ วัสสานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน​กรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ พล.ต.ท.ดำรงค์ เพ็ชรพงค์ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ ตร. พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชาระดับรองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการ ในสังกัด ตำรวจภูธรภาค 5 และ ภาค 6 ร่วมงานเสวนาการจัดเวทีเสวนาครั้งนี้นับเป็นเวทีครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากที่ ตร. จัดเสวนาอย่างต่อเนื่อง​ ในพื้นที่ภาคกลาง (ณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จ.นครปฐม) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเป้าหมายเพื่อรับฟังความคิดเห็นที่มีต่อร่างกฎหมาย ให้รอบด้าน ครอบครองทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ภายในงาน ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในกระบวนการอภิปราย ได้แก่ ท่านเปรมศักดิ์ ศรีนวล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครสวรค์ , พล.ต.ต.ดำรงค์ เพ็ชรพงค์​ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดร.ชำนาญ ชาดิษฐ์ กรรมการอำนวยการ สำนักงานกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และทนายความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เครือวัลย์ อินทรสุช ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ นายโสหส วัฒนศิลป์ กต.ตร.จังหวัดนครสวรรรค์ และ พ.ต.อ.ดร.เทิดสยาม บุญยะเสนาผู้กำกับการ (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 5 การเสวนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 300 คน ประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม​ ภาคประชาชน นักศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครสวรค์และจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนพนักงานสอบสวนและข้าราชการตำรวจในสังกัด ภ.5 และ ภ.6 ภายหลังการเสวนาในภาคเช้า ยังมีกิจกรรมสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อระดมความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนข้อเสนอในการพัฒนางานสอบสวนจากผู้ปฏิบัฏิบัติสำหรับร่าง แก้ไข ป.วิ.อาญา มีสาระสำคัญคือ การให้อัยการมีอำนาจกำกับดูแลงานสืบสวนสวนสอบสวน​ เช่น ในการสืบสวนเมื่อพบเหตุต้องแจ้งให้พนักงานอัยการทราบทันที การออกหมายเรียก หรือขอศาลออกหมายจับ ต้องให้พนักงานอัยการให้ความเห็นชอบก่อน รวมถึงให้อำนาจพนักงานอัยการมากำกับการสอบสวบสวนในคดีสำคัญ หรือคดีที่มีการร้องขอความเป็นธรธรรม ซึ่งในเวทีเสวนาวันนี้หลายฝ่ายได้แสดงความเห็นว่า ขั้นตอนการปฏิบัติที่ร่างกฎหมายกำหนด อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการสอบสวน เพราะกระบวนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่าง พนักงานสอบสวน อัยการ และศาล ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เป็นผู้เสียหายทำให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ล่าช้าขึ้น ย่อมจะกลายเป็นความไม่ยุติธรรม (Justice delayed is justice denied) ยกตัวอย่างคดีในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งต้องมีการสืบสวนสอบสวนคดียาเสพติดเพื่อป้องการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน หากน้ำขั้นตอนการปฏิบัติตามร่างกฎหมายมาใช้ อาจไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ ในการสืบสวนสอบสวน จับกุม ตรวจค้น คดียาเสพติดได้ในพื้นที่ได้ นอกจากนี้ในวงเสวนายังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องงบประมาณของรัฐที่จะต้องจัดสรรเพิ่มเติมให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงสำนักงานอัยการ ในการจัดหาบุคลากร ทรัพยากรต่างๆ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มเติม เพื่อรองรับภาระงานต่างๆที่มีเพิ่มขึ้นจากร่างกฎหมายนี้ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่มีการแลกเปลี่ยนกันกันในการเสวนา คือ การแก้ไขกฎหมายต้องมีเหตุผลและความจำเป็นที่เหมาะสม แต่การเสนอแก้ไข ป.วิ.อาญา ครั้งนี้ เป็นการยกปัญหาเป็นข้อบกพร่องส่วนบุคคลในงานสอบสวนแค่บางส่วน แต่มาเสนอแก้หลักการของกฎหมายแม่บท ทั้งที่การแก้ไขปัญหานั้นสามารถดำเนินการผ่านกลไกการประสานงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หรือการแก้ไขระเบียบและคำสั่งที่เกี่ยวข้องเป็นการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เหมาะสม และรวดเร็วกว่า โดยไม่จำเป็นต้องไปแก้ไข ป.วิ.อาญาให้ไปกระทบหลักการของระบบกฎหมายอาญาที่เป็นระบบกล่าวหาของประเทศไทยทั้งระบบโดยไม่จำเป็นนอกจากนั้น ร่าง ป.วิ.อาญาฉบับแก้ไข เน้นประเด็นการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาค่อนข้างมาก ทั้งที่โดยหลักแล้วการยุติธรรมต้องมีความสมดุลกันระหว่าง ผู้เสียหายและผู้ต้องหา และยังต้องคำนึงถึงมิติกฎหมายที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมอาชญากรรม (Due process) ตามหลักอาชญาวิทยาด้วย หากร่างกฎหมายบางประเด็น จะทำให้เกิดความไม่สมดุลในกลไกของกระบวนการดำเนินคดี และกับมาตราอื่นๆ ที่ไม่ได้เสนอแก้ไขในคราวเดียวกันนี้อีกด้วย อาจเกิดความไม่ชัดเจนในการปฏิบัติ สุดท้ายย่อมส่งผลกระทบให้เกิดความล่าช้าในการสอบสวนโดยไม่จำเป็น และส่งผลเสียต่อประชาชนผู้เสียหายในที่สุด​ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รวบรวมผลการเสวนาทั้ง 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ นำมาจัดทำเป็นเล่มรายงานทางวิชาการ 4 ฉบับ เพื่อเป็นข้อมูลการทำความเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งเผยแพร่ให้ผัูสนใจได้ศึกษาข้อมูลผลการเสวนาดังกล่าวต่อไป#สำนักงานตำรวจแห่งชาติ#ตำรวจภูธร​ภาค.​6#ตำรวจ​นครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์​ จัดโครงการปศุสัตว์ร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้า เฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

     วันที่ 4 กรกฎาคม 2568​ เวลา 08.59 น. นายบดินทร์​ เกษม​ศานติ์    รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์​ ในพิธีเปิดโครงการปศุสัตว์ร...