ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

กองทัพภาคที่ 3 (มณฑลทหารบกที่ 31) กับความร่วมมือ (MOU) โครงการเสริมสร้างเยาวชนคนดี มีวินัย รับใช้ชาติ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน เข้ารับราชการทหาร

ตามที่ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3 มีนโยบายในการร่วมกันส่งเสริม และสนับสนุนให้เยาวชน ได้ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดีของชาติ ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ และได้กระทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความกล้าหาญ เห็นคุณค่าในตนเอง และมีอาชีพที่มั่นคงในการดำรงชีพได้ นั้น ในการนี้ กองทัพภาคที่ 3 โดย มณฑลทหารบกที่ 31 ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของความร่วมมือ ของโครงการเสริมสร้างเยาวชนคนดี มีวินัย รับใช้ชาติ เพื่อส่งเสริม ให้เยาวชน เข้ารับราชการทหาร จึงได้ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง มณฑลทหารบกที่ 31 กับ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 6 นครสวรรค์ ณ ห้องประชุมกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31 ค่ายจิรประวัติ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี พลตรี อดุลย์ ชมเย็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31 พร้อมด้วยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชน และครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ และผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 6 นครสวรรค์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ    ทั้งนี้ การลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันส่งเสริม และสนับสนุนให้เยาวชน   ที่อยู่ในการฝึกอบรมของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 6 นครสวรรค์ เข้ารับราชการทหาร อันเป็นการได้ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดีของชาติ ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ และได้กระทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เกิดการยอมรับจากสังคม และไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความกล้าหาญ เห็นคุณค่าในตนเอง และสามารถยึดถือการรับราชการทหารเป็นอาชีพในการดำรงชีพได้       จึงขอเรียนให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า กองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 3 พร้อมที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในทุกโอกาส, พร้อมที่จะร่วมแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติในทุกมิติ และร่วมมือกับทุกเครือข่ายงานความมั่นคง เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากวิกฤตทุกโอกาส รวมทั้งผนึกกำลังทุกภาคส่วนสร้างความมั่นคงให้ประเทศชาติสืบไปคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 330 มีนาคม 2565

โครงการปรับปรุงถนนวงแหวน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เชื่อม 4 ตำบล อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

โครงการปรับปรุงถนนวงแหวน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เชื่อม 4 ตำบล อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปเยี่ยมเยียนราษฎร ณ ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยตามพระราชดำริฯ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่             24 มกราคม 2561 ทรงพระราชทานพระราชดำริ ให้สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ       อันเนื่องมาจากพระราชดำริ, กองทัพภาคที่ 3, กรมป่าไม้ และจังหวัดเชียงใหม่ ให้พิจารณาร่วมกันในแนวทางดำเนินโครงการปรับปรุงถนนวงแหวน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เชื่อม 4 ตำบล ของอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการคมนาคมของราษฎรและเจ้าหน้าที่รัฐในการสัญจรเข้าสู่พื้นที่ เป็นการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ราษฎร โดยทรงรับโครงการฯ ดังกล่าว เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการปรับปรุงถนนวงแหวนฯ ได้เชื่อมเส้นทางทั้ง 4 ตำบล ของอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย เส้นทางในพื้นที่ตำบลนาเกียน, ตำบลสบโขง, ตำบลอมก๋อย และตำบลยางเปียง รวมระยะทางประมาณ 105.892 กิโลเมตร เนื่องจากถนนสายดังกล่าวเดิมเป็นถนนดินลูกรัง มีสภาพทรุดโทรม สามารถใช้สัญจรได้เฉพาะฤดูแล้ง ในฤดูฝนไม่สามารถใช้การได้นอกจากต้องใช้รถยนต์ที่มีสมรรถนะสูง ซึ่งถนนดังกล่าว เป็นถนนสายหลักเพียงเส้นเดียวที่ประชาชนทั้ง 4 ตำบล ใช้สัญจรไปมา ทำให้ประชาชน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถใช้สัญจร หรือปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก,ปลอดภัย หรือสนับสนุนการเคลื่อนย้ายได้อย่างทันท่วงทีหากมีอุบัติเหตุฉุกเฉิน 
กองทัพภาคที่ 3 จึงได้มอบหมายให้หน่วยทหารช่าง จัดทำโครงการปรับปรุงถนนวงแหวน ในรูปแบบถนนดินซีเมนต์ผสมน้ำยาประสาน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เชื่อมทั้ง 4 ตำบล ร่วมกับ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่), กรมทางหลวงชนบท, จังหวัดเชียงใหม่ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เริ่มต้นดำเนินโครงการฯ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา 
ปัจจุบัน ได้ดำเนินการปรับปรุงถนนไปแล้ว ระยะทางกว่า 66 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 62.3 โดยคาดว่าจะดำเนินแล้วเสร็จสมบูรณ์ ในปีงบประมาณ 2565 นี้ ทั้งนี้ ทุกภาคส่วนมีความมุ่งหวังให้โครงการดังกล่าว   จะเป็นปัจจัยเสริมให้การปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลาดตระเวนในพื้นที่, การป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากร ธรรมชาติและป่าไม้, การเฝ้าระวังการเกิดไฟป่า, การเข้าไปฟื้นฟูอนุรักษ์สภาพป่าไม้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน ให้ได้รับประโยชน์ในการสัญจร มีความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางในทุกฤดูกาล อันจะเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืนในอนาคตคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 3
30 มีนาคม 2565

กองทัพภาคที่ 3 เข้ม “ยุติธรรม และโปร่งใส ในการตรวจเลือกทหาร”

ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีนโยบายให้การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ของกระทรวงกลาโหม ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 1 – 20 เมษายน 2565 ต้องเป็นไปตามกระบวนการตรวจเลือกฯ ที่คงไว้ซึ่งความยุติธรรมและโปร่งใส เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาเป็นทหารกองประจำการ ตามความมุ่งหมายของทางราชการ นั้น    ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3 ขอแจ้งให้ทุกท่านอย่าได้หลงเชื่อมิจฉาชีพ ที่มักจะใช้วิธีการโน้มน้าวทุกรูปแบบ แอบอ้าง หรือการเรียกรับผลประโยชน์ ว่าสามารถช่วยเหลือในการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการด้วยวิธีใดๆ ซึ่งจะเกิดการเสียเงินหรือทรัพย์สิน โดยสูญเปล่า รวมทั้งพบเห็นกระบวนการใดๆ ในความไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม และโปร่งใส ในการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ สามารถตรวจสอบข้อมูลหรือแจ้งหน่วยทหารได้โดยตรง หรือสามารถส่งข้อมูลโดยตรง ให้กับ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3 ผ่านระบบ Applications Line ชื่อ “สายตรงแม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 หรือแจ้งด้วยตนเอง ณ หน่วยทหารทุกแห่งใกล้บ้านท่าน เพื่อได้ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป และขอยืนยันว่า กองทัพภาคที่ 3 จะได้ดำเนินการตามกระบวนการตรวจเลือกฯ ที่คงไว้ซึ่งความยุติธรรมและโปร่งใส เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาเป็นทหารกองประจำการ ตามความมุ่งหมายของทางราชการต่อไปคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 330 มีนาคม 2565

นวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง "หาน้ำให้นาอิน" ด้วยรถสูบน้ำพลังงาน แสงอาทิตย์เคลื่อนที่

ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  มีความห่วงใย และเป็นห่วงพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง จึงได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด ทันท่วงที รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ พร้อมติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง นั้น ทั้งนี้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ร่วมกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอุตรดิตถ์, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ตระหนักถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และได้นำมาตรการต่างๆ ของคณะรัฐมนตรีมาปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งจัดการอบรมเพื่อติดอาวุธทางปัญญา และเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ เป็นการคืนระบบนิเวศสู่ธรรมชาติ มีน้ำอุปโภคและบริโภคที่พอเพียง สามารถทำให้มีแหล่งน้ำอยู่ใต้ดิน   ที่สร้างความชุ่มชื้นให้กับพืชผลทางการเกษตร รวมถึงสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ร่วมกันดำเนินการตามโครงการ การจัดการนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อการเกษตรบนพื้นที่ราบสูง ด้วยระบบพลังงานทดแทน เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง "หาน้ำให้นาอิน" ด้วยรถสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เคลื่อนที่ พร้อมทั้งได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมแก่ชุมชน จำนวน 3 หมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลนาอิน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ในห้วงที่ผ่านมา จนประสบความสำเร็จ ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 มีความยินดีที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในการร่วมแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยได้บูรณาการหน่วยงานในพื้นที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม ทั้งระยะเร่งด่วน และระยะยาว เพื่อแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ ขอเรียนให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า กองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พร้อมที่จะสนับสนุนกำลังพล, ความรู้ความสามารถ และยุทโธปกรณ์ทางทหาร รวมทั้งบูรณาการศักยภาพทางการทหารในทุกๆ ด้านของกองทัพบก เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตลอดไปคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 330 มีนาคม 2565

การปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ ในพื้นที่จังหวัดตาก (30 มีนาคม 2565)

ตามที่ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ได้มีนโยบายปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ โดยบูรณาการหน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก ยึดถือ ครอบครอง ทำลาย หรือด้วยการกระทำใดๆ อันเป็นการทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สภาพป่า โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในทุกพื้นที่นั้น ได้ดำเนินการจับกุมและปราบปรามในพื้นที่จังหวัดตาก ดังนี้ เหตุการณ์ที่ 1 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เวลาประมาณ 09.00 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่จาก กองร้อยทหารพรานที่ 3505 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ กำลังลาดตระเวนตรวจพื้นที่รับผิดชอบเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายอยู่ในป่าเขตพื้นที่ บ้านเซ่อเซอคี ตำบลสามหมื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก นั้น ได้พบต้นขนุนป่า ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามถูกตัดโค่น จำนวน 5 ต้น และพบไม้ขนุนป่า แปรรูป จำนวน 9 แผ่น พร้อมค้างเลื่อยไม้จำนวนหนึ่งอยู่ใกล้ๆ ต้นขนุนป่าที่ถูกตัด จากการตรวจสอบจุดเกิดเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง ไม่พบตัวเจ้าของไม้หรือตัวผู้กระทำผิด เจ้าหน้าที่จึงร่วมกันตรวจยึดไม้แปรรูปดังกล่าว นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป เหตุการณ์ที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 เวลาประมาณ 09.00 น. เจ้าหน้าที่ทหารจาก หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 (ตาก), เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งน้ำตกชาติพาเจริญ, เจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครองอำเภอพบพระ เข้าตรวจสอบการตัดไม้และครอบครองไม้หวงห้ามในพื้นที่บ้านป่าหวาย ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก  ภายหลังจากได้รับแจ้งข่าวสารมาว่า มีบุคคลจำนวนหนึ่งลักลอบเข้าไปตัดไม้กระยาเลยที่ มีราคาสูงในพื้นที่ป่าแล้วนำมาเก็บซุกซ่อนไว้ใต้ถุนกระท่อมภายในหมู่บ้านป่าหวาย ตำบลคีรีราษฎร์ ผลการปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ตรวจพบไม้กระยาเลยท่อน จำนวน 3 ท่อน (ปริมาตร 0.67 ลูกบาศก์เมตร), ไม้กระยาเลยแปรรูป จำนวน 40 แผ่น (ปริมาตร 1.55 ลูกบาศก์เมตร), ไก่ฟ้าหลังเทา(สัตว์ป่าคุ้มครอง) จำนวน 3 ตัว, เลื่อยโซ่ยนต์ จำนวน 1 เครื่อง และมีด จำนวน 2 เล่ม ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวผู้ต้องหา จำนวน 6 คน พร้อมของกลางทั้งหมดนำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ ขอความกรุณาได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการปราบปรามและจับกุม อย่างเป็นรูปธรรมตามกฎหมาย อีกทั้งหากพี่น้องประชาชนมีความประสงค์จะส่งข้อมูล การลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ โดยตรง ให้กับ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Applications Line ชื่อ “สายตรงแม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 เพื่อรับทราบข้อมูลและนำไปสู่การปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้สังคมไทยสืบไปคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 330 มีนาคม 2565

แพทย์ทหารเตือนภัย “โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ”

โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เชื้อจะเข้าทางบาดแผล ผ่านทางกัด ข่วน เลีย หรือสัมผัสกับน้ำลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิดที่มีเชื้อ โดยสัตว์ที่พบเป็นโรคพิษสุนัขบ้าบ่อยที่สุดคือสุนัข รองลงมาคือแมว และโค โรคนี้สามารถพบได้ตลอดทั้งปี ระยะตั้งแต่รับเชื้อถึงแสดงอาการอาจยาวนานตั้งแต่ 1 สัปดาห์ จนถึง 1 ปี อาการในคน คือ มีไข้ ปวดศีรษะ คันรุนแรงบริเวณบาดแผล คลุ้มคลั่ง กลัวแสง กลัวลม กลืนอาหารไม่ได้โดยเฉพาะของเหลว และหายใจลำบาก เนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมเป็นอัมพาต เมื่อผู้ติดเชื้อแสดงอาการแล้ว จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ และเสียชีวิตทุกราย โดยเฉพาะในช่วงนี้ อากาศร้อนอาจทำให้สัตว์หงุดหงิดได้ง่าย ควรระวังตนเองและดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดไม่ให้ถูกสุนัข-แมว กัดหรือข่วน เพราะอาจได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ สำหรับโรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ ดังนี้ 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน และนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี  2. ป้องกันไม่ให้สุนัขกัดหรือทำร้าย ด้วยหลัก “5 ย.” ได้แก่ 1) อย่าแหย่ อาจโดนกัดหรือข่วนได้       2) อย่าเหยียบ บริเวณลำตัว ขา หรือหางของสัตว์ 3) อย่าแยก สัตว์ที่กำลังกัดกัน 4) อย่าหยิบ อาหารขณะสัตว์กำลังกิน และ 5) อย่ายุ่ง กับสัตว์ที่ไม่รู้จักคุ้นเคย 3. หากถูกสุนัขหรือแมว กัด-ข่วน ขอให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลายๆ ครั้ง อย่างเบามือ    ใส่ยาฆ่าเชื้อ หรือเบตาดีนที่บาดแผลทันทีหลังล้างแผลเสร็จ จากนั้นไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และให้กักสุนัข-แมว 10 วัน เพื่อสังเกตอาการ หากสัตว์ตายให้รีบแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อส่งตรวจหาโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ที่สำคัญควรฉีดวัคซีนตามแพทย์นัดให้ครบชุด          ทั้งนี้ ขอแนะนำเจ้าของสัตว์เลี้ยงว่า การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 2-4 เดือนขึ้นไป และฉีดซ้ำทุกปี ตามหน่วยบริการฉีดวัคซีนสุนัขบ้าฟรี ในพื้นที่ของจังหวัดต่างๆ หากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า คือมีอาการหางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อย ตาขวาง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือผู้นำชุมชนทันที ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 3 และแพทย์ทหาร จึงมีความห่วงใยต่อข้าราชการทหาร ในสังกัดกองทัพภาคที่ 3 และพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ต่อโรคภัยดังกล่าว ทั้งนี้ หากตนเองหรือคนรอบข้างถูกสุนัขหรือแมว กัด-ข่วน และมีอาการบ่งชี้ หรือสงสัยว่าป่วย ขอให้ได้ไปพบแพทย์ ณ โรงพยาบาลทหารทั้ง 10 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือ หรือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็วคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 330 มีนาคม 2565

Medical warning "summer health consists of 5 diseases and 3 health risks"คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 330 มีนาคม 2565

จังหวัดนครสวรรค์ จัดโครงการนครสวรรค์ร่วมใจ ปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

                 วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่พักจังหวัดนครสวรรค์ จัดโครงการนครสวรรค์ร่วมใจ ปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเ...