ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

อบจ.นครสวรรค์ ร่วมศึกษาเรียนรู้ ผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจของ อบจ.นครวรรค์ ในโครงการวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 30 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและผู้อำนวยการกองทุกกอง​ ร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ในโครงการวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 ร่วมกับ รศ.ดร.วรรณา ประยุกต์วงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสรรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล         ซึ่งที่ผ่านมา อบจ.นครสวรรค์  ได้มีส่วนร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทั้งสามครั้ง โดยการประชุมครั้งนี้ทางโครงการวิจัยและอบจ.นครสวรรค์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน พร้อมทั้งร่วมรับฟังข้อมูลผลการวิจัย อีกทั้งในครั้งนี้ มีผลการวิจัยออกมาในบางหัวข้อที่ยังไม่ตรงตามภาระหน้าที่ของ อบจ. ซึ่งบางเรื่องในการศึกษาวิจัยยังไม่ตรงประเด็น นายก อบจ.นครสวรรค์ ได้กล่าวว่า"ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทาง อบจ.นครสวรรค์ยอมรับได้ในผลการวิจัยที่ได้คะแนนน้อย ไม่ถึงเกณฑ์ อบจ.ยั่งยืน จึงอยากขอเสนอให้มีการปรับในบางหัวข้อให้ตรงตามภาระหน้าที่ และในบางหัวข้อเป็นเรื่องของงานในส่วนราชการ ที่ไม่ใช่ภาระหน้าที่ของ อบจ. อีกส่วนหนึ่งอยากขอให้มีการศึกษาวิจัยในเรื่องระบบโครงสร้าง ิอปท. เพื่อการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ชัดเจนตรงตามภาระหน้าที่ จะได้มีการปรับเปลี่ยนให้ทันโลกที่เขาก้าวไปไกล แต่ระบบของเรายังไม่ไปไหน แล้วจะได้เอาผลของการศึกษาวิจัยมาเป็นตัวขับเคลื่อนต่อไป  และขอขอบคุณ ขอให้กำลังใจฝ่ายโครงการวิจัยในการทำงานวิจัยครั้งต่อ ๆ ไปอีกด้วย"!!!!!!!!ต้อย​ รอบ​รั้ว​ภูธร​0619782952!!!!!! 

จังหวัดนครสวรรค์ จัดการประชุมคณะกรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำเดือนมีนาคม 2565

วันนี้ ( 30 มีนาคม 2565) เวลา 09.30 น. นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์  ประธานการประชุม คณะกรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 3/ 2565 เพื่อมอบนโยบายสำคัญในการปฏิบัติงานให้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ณ ห้องประชุม 501 ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์โดยที่ประชุมมีเรื่องเพื่อทราบและเรื่องพิจารณา ได้แก่ สรุปสถานการณ์ COVID-19 ประจำเดือน มีนาคม 2565 การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดนครสวรรค์เดือนกุมภาพันธ์ รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้ เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จังหวัดนครสวรรค์ สรุปสถานการณ์น้ำเดือนมีนาคม 2565 การคาดหมายลักษณะอากาศบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ เดือนเมษายน 2565  การขับเคลื่อนการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ก่อนการประชุม  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้มอบเกียรติบัตรข้าราชการพลเรือนดีเด่นจำนวน 4 ราย และข้าราชการดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2564 จำนวน 10 ราย ,ถวายแจกันดอกไม้พระสงฆ์ที่เข้ารับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร พ.ศ. 2563 – 2564 จำนวน 2 รูป ,มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี 2564 ระดับจังหวัด จำนวน 2 ราย  ,มอบประกาศเกียรติบัตรโครงการประกวดบรรยายธรรมประจำปี พ.ศ. 2565 ระดับจังหวัด จำนวน 19 ราย  ,มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย จำนวน 4 ราย!!!!!! ต้อย​ รอบ​รั้ว​ ภูธร​0619782952!!!!!! 

นครสวรรค์​ มอบเกียรติ​บัตร​และเข็มเชิดชู​เกียรติ​แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น

วันนี้ 30 มีนาคม 2565​​ เวลา​ 10.00 น. พล.ต.ต.ระพีพงษ์ สุขไพบูลย์ ผบก.ภ.จว.นครสวรรค์ พร้อมด้วยพ.ต.อ.นิวัติ พิพัฒนสิริรอง ผบก.ภ.จว.นครสวรรค์และ พ.ต.อ.ชัยเสถียร มณีจักรรอง ผบก.ภ.จว.นครสวรรค์ เข้าร่วมในพิธีรับมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2565 เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ.2565 จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานในพิธีฯ ณ ห้องประชุม 501 ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์          ทั้งนี้ พล.ต.ต.ระพีพงษ์ สุขไพบูลย์ ผบก.ภ.จว.นครสวรรค์ ได้รับเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔ กลุ่มที่ ๑ ประเภท อำนวยการระดับต้นและระดับสูง วิชาการระดับเชี่ยวชาญ และ พ.ต.อ.นิวัติ พิพัฒนสิริ รอง ผบก.ภ.จว.นครสวรรค์ ได้รับเกียรติบัตรข้าราชการพลเรือนดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี พ.ศ
.2564!!!!!!ต้อย​ รอบ​รั้ว​ ภูธร​0619782952!!!!!!!

จังหวัดนครสวรรค์ จัดกิจกรรมมอบแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์เร่งรัด การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุ ให้กับนายอำเภอทุกอำเภอในจังหวัด

วันนี้ (30 มีนาคม 2565 ) เวลา 09.30 น. นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ประธานมอบแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์เร่งรัด การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุ ให้กับนายอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์  โดยมีนายแพทย์จักราวุธ จุฑาสงฆ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวรายงาน ฯ  ณ บริเวณหน้าห้องประชุม 501 ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ โดยการมอบป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุ โดยเร่งสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน เพื่อกระตุ้นผู้ที่ยังลังเลไม่ยอมฉีดวัคซีน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครสาธารณสุข ออกเคาะประตูบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจและชักชวน มาฉีดวัคซีน รวมทั้งจัดทีมออกฉีดวัคซีนถึงบ้านพักในกลุ่มผู้ป่วย ติดเตียง และผู้สูงอายุติดบ้าน ก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึง เพื่อให้ลูกหลานที่จะกลับมาเยี่ยม ผู้สูงอายุได้อย่างสบายใจการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เนื่องจากผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 สูงถึงร้อยละ 75 แต่หากได้รับการฉีดวัคซีนจะช่วยลดการป่วยหนักหากติดเชื้อและลดและลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 41 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่ได้รับวัคซีน!!!!! ต้อย​ รอบ​รั้ว​ ภูธร​0619782952!!!!!! 

กำหนดการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ประจำปี 2565 ในพื้นที่ภาคเหนือ

กองทัพบก จะทำการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 1 – 20 เมษายน 2565 (เว้นวันที่ 6 เมษายน 2565 (วันจักรี) และ 13 – 15 เมษายน 2565     (วันสงกรานต์)) จึงขอให้ชายสัญชาติไทย เกิด พ.ศ. 2544 ซึ่งมีอายุครบ 21 ปี และที่เกิด พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2543 ซึ่งมีอายุครบ 22 ปี ถึง 29 ปี ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกทหาร หรือผลการตรวจเลือกยังไม่แล้วเสร็จทุกกรณี ไปเข้ารับการตรวจเลือกทหาร ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนดในหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) ในพื้นที่ภาคเหนือ มีรายละเอียดตามภาพทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 จึงขอความร่วมมือผู้ปกครองและญาติของทหารกองเกินที่ไม่มีความจำเป็น ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่ดำเนินการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ ทั้งนี้เพื่อลดความคับคั่งและการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข โดยขอให้ทหารกองเกินที่จะเข้ารับการตรวจเลือกฯ ให้สวมหน้ากากอนามัยมาเข้ารับการตรวจเลือกฯ ด้วยทุกคน กองทัพภาคที่ 3 หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทหารกองเกินที่อยู่ในกำหนดเรียกเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ทุกคนจะสำนึกถึงหน้าที่อันสำคัญยิ่งของลูกผู้ชายไทย ในอันที่จะปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร โดยไปแสดงตนเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยพร้อมเพรียงกันทุกคน และขอขอบคุณผู้ที่ร้องขอเข้ารับราชการทหารกองประจำการทุกคนที่ให้ความไว้วางใจต่อกองทัพ เป็นผู้เสียสละในอันที่จะเข้ารับการฝึกฝนให้มีระเบียบ วินัย ทุ่มเทแรงกายและแรงใจ ในการช่วยเหลือสังคม รวมทั้งเป็นกำลังที่สำคัญของชาติไทยสืบไป  คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 330 มีนาคม 2565

โครงการ “ป่าเปียก ลดเชื้อเพลิง สร้างรายได้”

กองทัพภาคที่ 3 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตระหนักถึงคุณค่าอเนก อนันต์ของน้ำ ทรงคํานึงว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้น จะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้หากรู้จักนําไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ เฉกเช่นเดียวกับพระราชดําริป่าเปียก เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่านั้น จึงเป็นมรรควิธี ที่ทรงคิดค้นขึ้นจากหลักการที่แสนง่ายแต่ได้ประโยชน์มหาศาล กล่าวคือ ยามที่เกิดไฟไหม้ป่าขึ้นคราใด ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะคํานึงถึงการแก้ปัญหา ด้วยการระดมสรรพกําลังกันดับไฟป่าให้มอด ดับอย่างรวดเร็ว แต่แนวทางใน การป้องกันไฟป่าในระยะยาวนั้น ยังดูเลือนรางในการวางระบบอย่างจริงจัง พระราชดําริป่าเปียก จึงเป็นพระราชดําริหนึ่งที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงแนะนําให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ทําการศึกษาทดลองจนได้รับผลสําเร็จเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งวิธีการสร้าง “ป่าเปียก” นั้น ได้แก่ วิธีที่ 1 ทําระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำ และแนวพืชชนิดต่างๆ ปลูกตามแนวคลอง วิธีที่ 2 สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก โดยอาศัยน้ำชลประทานและน้ำฝน วิธีที่ 3 โดยการปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้ความชุ่มชื่นค่อยๆ ทวีขึ้นและแผ่ขยายออกไป ทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทําให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่า เพราะไฟป่าจะเกิดขึ้นหากป่าขาดความชุ่มชื้น วิธีที่ 4 โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือที่เรียกว่า Check Dam ขึ้น เพื่อปิดกั้นร่องน้ำหรือลําธาร ขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทําให้ ความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็นป่าเปียก วิธีที่ 5 โดยการสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทําได้แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อย ให้ค่อยๆ ไหล ซึมดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป ภูเขาป่า ให้กลายเป็น ป่าเปียก ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย วิธีที่ 6 ปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กําหนด ให้เป็นช่องว่างของป่า ประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่า      ก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชอื่น ทําให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก แนวพระราชดําริป่าเปียก จึงนับเป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลักสําคัญ ที่จะช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ไฟป่าจึงเกิดได้ยาก การพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่สามารถทําได้ง่ายและได้ผลดียิ่ง ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 จึงมีดำริให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 3 ในพื้นที่ 17 ภาคเหนือ รวมทั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ทั้ง 17 จังหวัด ร่วมบูรณาการกับส่วนราชการ ภาคเอกชน และพี่น้องประชาชน ในการจัดทำโครงการ “ป่าเปียก ลดเชื้อเพลิง สร้างรายได้” โดยการลดการเผาและสร้างรายได้ มีรูปแบบการลดปริมาณเชื้อเพลิงที่หลากหลาย เช่น การปลูกข้าวโพดตัดขายแบบสดและลำต้นเป็นอาหารสัตว์, การเก็บตอซังข้าวโพดและตอซังข้าวแบบแห้ง เป็นอาหารสัตว์, การบีบอัดตอซังข้าวโพด อ้อย หรือกิ่งลำไย เพื่อเป็นเชื้อเพลิง และการสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวล การขนส่ง และรายได้ที่เหมาะสม รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างป่าเปียก อันเป็นการที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของป่าแล้ว ยังเป็นการป้องกันปัญหาไฟป่า และหมอกควันอีกทางหนึ่งด้วย กองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนช่วยกันฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูป่าไม้ ต้นน้ำน้ำลำธาร เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับแผ่นดิน สร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันเป็นการน้อมนำแนวทางตามพระราชดำริ อีกทั้งเป็นการป้องกันการเกิดไฟป่า หมอกควัน และอุ่นละอองในอากาศ รวมทั้งการสร้างรายได้อีกด้วย  คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 330 มีนาคม 2565

ทหารพันธุ์ดีน่าน เชิญชวนเพาะถั่วงอกรับประทาน สะอาด ประหยัด ปลอดภัย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 3 จัดตั้งโครงการทหารพันธุ์ดี ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ให้ข้าราชการและทหารกองประจำการที่มีความสนใจด้านการเกษตร ได้มีโอกาสเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการปลูกผักอินทรีย์ที่ปลอดภัย ซึ่งหน่วยทหารในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้ดำเนินการทำเกษตรอินทรีย์, การปศุสัตว์ และการประมง เพื่อเป็นแหล่งความมั่นคงทางด้านอาหารแก่ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ อีกทั้งยังมีพระราชประสงค์ให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักสะสมสำรองไว้ เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์พระราชทานแก่ราษฎรทั่วไปและราษฎรในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ นับเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้า นั้น สำหรับโครงการทหารพันธุ์ดีน่าน ฐานปฏิบัติการแสงเพ็ญ ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ได้ดำเนินการเพาะถั่วงอกปลอดภัย เพื่อส่งเสริมให้กำลังพล มีความรู้ความสามารถในการปลูกผักปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อบริโภค เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน หากเหลือจากการบริโภค สามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริม รายละเอียดดังนี้ การเพาะถั่วงอก แบบตัดรากการเตรียมอุปกรณ์1. ถังพลาสติก สีดำหรือสีตามต้องการ ซึ่งเจาะด้านล่างให้เป็นรูเพื่อให้ระบายน้ำออกสะดวก     2. ตะแกรงเหล็ก ใช้วางในถังน้ำเป็นฐานรองชั้นตะแกรงและกระสอบป่าน3. กระสอบป่าน ตัดเป็นวงกลมขนาดเท่าขนาดถังพลาสติก4. ตะแกรงพลาสติก หรือตะแกรงเกล็ดปลาขนาด 2-3 มิลลิเมตร ตัดให้ได้เท่ากับขนาดถังพลาสติก5. เมล็ดถั่วเขียว ซาวน้ำแล้วมาแช่ในน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 38-40 องศาเซลเซียส หรือ ใช้น้ำต้มเดือด 1 ส่วน ผสมน้ำธรรมดา 3 ส่วน แช่ทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมง (หากสภาพอากาศร้อนแช่ 6 ชั่วโมง ถ้าอากาศหนาวแช่ 8 ชั่วโมง“อุณหภูมิของน้ำไม่ควรต่ำหรือสูงกว่านี้ เพราะหากต่ำเกินไปจะฆ่าเชื้อโรคไม่ได้ และถ้าสูงเกินไปทำให้เมล็ดถั่วตาย เพาะไม่ขึ้น และการแช่น้ำอุ่นทำให้เปลือก หลุดได้ง่าย ซึ่งช่วยทั้งเรื่องการงอก และล้างทำความสะอาดได้ง่าย หลังจากแช่ตามระยะเวลาที่กำหนด เมล็ดถั่วเขียวเริ่มมีรากปริ่ม ๆ ขึ้นมา” วิธีเพาะถั่วงอก1. เอาตะแกรง ที่เตรียมไว้รองใต้ฐานลงก่อน เพื่อป้องกันรากถั่วงอก โดนก้นถัง2. เอาตะแกรงพลาสติกรองเป็นฐานแรก 1 อัน     3. ตามด้วยกระสอบป่าน ที่ตัดไว้ลงเป็นลำดับต่อไป   4. ตามมาด้วยตะแกรงพลาสติก 1-3 มิลลิเมตร5. โรยเมล็ดถั่วเขียวที่แช่ไว้ให้ทั่วบนตะแกรงพลาสติก อย่าให้หนามาก6. ทำตามขั้นตอนที่ 3-5 ไปเรื่อยๆ ซ้อนเป็นชั้นๆ 4-5 ชั้นโดยประมาณ แล้วชั้นบนสุดปิดด้วยกระสอบป่านอีก 2 ชั้น7. รดน้ำวันละ 6 ครั้ง เพื่อไม่ให้ภายในถังเพาะร้อนจนเกินไป หรือเว้นระยะรด 3 ชั่วโมง รดครั้ง8. ทิ้งไว้ 3-4 คืน จะได้ถั่วงอกที่ขาวสะอาด (ถ้าอยู่ในพื้นที่มีอากาศเย็น ถั่วจะงอกช้ากว่าปกติ)การรดน้ำหลังการเพาะเมล็ดถั่วเขียว1. การรดน้ำในช่วงอากาศร้อน การรดน้ำเพื่อลดความร้อนในถังเพาะถั่วงอกจะทำการตั้งเวลารดน้ำ 7 ครั้งต่อวัน ดังนี้ครั้งที่ เวลาเปิดน้ำ เวลาปิดน้ำ เวลา (นาที)1 06.00 น. 06.01 น. 12 08.00 น. 08.01 น. 13 11.00 น. 11.02 น. 24 12.00 น. 12.02 น. 25 13.00 น. 13.02 น. 26 17.00 น. 17.01 น. 12. การรดน้ำในช่วงอากาศหนาว/เย็น การรดน้ำเพื่อลดความร้อนในถังเพาะถั่วงอกจะทำการตั้งเวลารดน้ำ 4 ครั้งต่อวัน ดังนี้ครั้งที่ เวลาเปิดน้ำ เวลาปิดน้ำ เวลา (นาที)1 06.00 น. 06.01 น. 12 10.00 น. 10.01 น. 13 13.00 น. 13.01 น. 14 17.00 น. 17.01 น. 1ขั้นตอนเก็บผลผลิตและการตัดรากถั่วงอก1. ล้างเปลือกที่ยังหลุดไม่หมดออกโดยการใช้น้ำฉีดลงที่ถั่วงอกก่อน2. ใช้มีดตัดลงตรงโคนถั่วงอกตรงหน้าตะแกรงพลาสติกเพื่อตัดรากทิ้ง3. ทำการร่อนเอาเปลือกถั่วที่ยังหลงเหลืออยู่ในน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง4. นำถั่วงอกที่ล้างน้ำจนสะอาดขึ้นพักสะเด็ดน้ำ5. นำถั่วงอกแพ็คบรรจุถุงปิดให้สนิดแช่ตู้ทำความเย็น6. หลังจากการเก็บผลผลิตให้ทำความสะอาดถังพลาสติก กระสอบ ตะแกรง ให้สะอาดทุกครั้ง (กระสอบเมื่อทำการทำความสะอาดซัก ตากจนแห้งให้นำกระสอบไปนึ่งเพื่อฆ่าเชื้ออีกครั้ง) จึงขอเรียนให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า กองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 3 มีความพร้อมที่จะสนับสนุนกำลังพล, ความรู้ความสามารถ และยุทโธปกรณ์ทางทหาร รวมทั้งบูรณาการศักยภาพทางการทหารในทุกๆ ด้านของกองทัพบก เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตลอดไปคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 330 มีนาคม 2565

ประชุม​ รายงานผลการปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมา ในการระดมกวาดล้างการจับกุมหนี้นอกระบบรายสำคัญ​

วันนี้ (30 เม.ย. 67) เวลา 10.00 น.พล.ต.อ.ธนา  ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร.(สส)/ผอ.ศปน.ตร.พล.ต.ท.อัคราเดช  พิมลศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป 5)(สส 3...