ต้อยทูเดย์ออนไลน์ Toytodayonline

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565

การปราบปรามการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย กว่า 1,390 คน (1 - 25 เมษายน 2565)

ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานด้านความมั่นคง โดยบูรณาการหน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุมและสกัดกั้นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ นั้น ประกอบกับที่รัฐบาลได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีข้อกำหนดตามกรอบพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้พิจารณาให้ระงับการใช้ช่องทางการเข้าออกประเทศในทุกพื้นที่ที่มีเขตติดต่อชายแดน เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 มาจนถึงปัจจุบัน นั้น ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการ กองทัพภาคที่ 3         ได้กำชับให้ทุกหน่วยที่มีพื้นที่ตามแนวชายแดน ได้เฝ้าระวังการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายของกลุ่มแรงงานต่างด้าว รวมไปถึงคนไทยที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน และลักลอบกลับเข้ามาในประเทศไทย     เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างจริงจัง โดยมีผลการจับกุม, ผลการดำเนินคดี และการเร่งรัดการดำเนินคดีตามกฎหมาย โดย ศูนย์ปฏิบัติการ กองทัพภาคที่ 3, กองกำลังนเรศวร และกองกำลังผาเมือง ได้ร่วมกับทุกภาคส่วน ในห้วงวันที่ 1 – 25 เมษายน 2565 จำนวน 138 ครั้ง 1,393 คน ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการนำพาแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือมีเบาะแสข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย ขอความกรุณาได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการปราบปรามและการสกัดกั้นอย่างเป็นรูปธรรมตามกฎหมาย อีกทั้งหากพี่น้องประชาชนมีความประสงค์จะส่งข้อมูลเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย ให้กับ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Application Line ชื่อ “สายตรงแม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 เพื่อรับทราบข้อมูลและนำไปสู่การปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย       สร้างความมั่นคงให้สังคมไทยสืบไป            คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 329 เมษายน 2565

การปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ ในพื้นที่ภาคเหนือ (29 เมษายน 2565)

ตามที่ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ได้มีนโยบายปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ โดยบูรณาการหน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก ยึดถือ ครอบครอง ทำลาย หรือด้วยการกระทำใดๆ อันเป็นการทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สภาพป่า โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในทุกพื้นที่นั้น ได้ดำเนินการจับกุมและปราบปรามในพื้นที่ภาคเหนือ ดังนี้ เหตุการณ์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 เวลาประมาณ 09.00 น. เจ้าหน้าที่จาก กองร้อยทหารพรานที่ 3603 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ เข้าทำการตรวจสอบการลักลอบตัดไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสาละวิน บริเวณพื้นที่บ้านแม่ลามาน้อย ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งพบไม้สักแปรรูป จำนวน 79 แผ่น ถูกซุกซ่อนไว้ในป่า จากการตรวจสอบจุดเกิดเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง ไม่พบตัวเจ้าของไม้ดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงร่วมกันตรวจยึดไว้เป็นของกลาง พร้อมทั้งแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป เหตุการณ์ที่ 2 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 เวลาประมาณ 09.00 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจาก  กองร้อยทหารราบที่ 1413 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ กำลังลาดตระเวนตรวจพื้นที่รับผิดชอบมาตามแนวป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่หมู่บ้านตะเปอพู ตำบลโมโกร อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ได้พบชาย 3 คน กำลังช่วยกันทำการแปรรูปไม้อยู่ จึงเข้าทำการตรวจสอบและพบว่ากลุ่มคนดั้งกล่าวได้แปรรูปไม้หวงห้าม จำนวน 380 แผ่น โดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จึงตรวจยึดไม้หวงห้ามและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูปไม้เป็นของกลาง พร้อมนำตัวชายทั้งสามคนส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป เหตุการณ์ที่ 3 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 เวลาประมาณ 14.00 น. เจ้าหน้าที่ทหารจาก หมวดสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดที่ 1 กองร้อยสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.27 (มิตรภาพ), เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทำการตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าที่ บ้านไม่มีเลขที่ในหมู่บ้านปากห้วยแม่ปะ ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 2 หลัง ผลการดำเนินการ ที่บ้านหลังแรกพบ ไม้สักแปรรูป จำนวน 24 แผ่น ซุกซ่อนอยู่ในบริเวณบ้านและพบไม้สักกับไม้แดงท่อน จำนวน 18 ท่อน ซุกซ่อนอยู่ในลำห้วยด้านหลังบ้าน ส่วนบ้านหลังที่สองพบไม้สักแปรรูป จำนวน 50 แผ่น ซุกซ่อนอยู่ในพงหญ้าข้างหลังบ้าน แต่ไม่พบตัวเจ้าของบ้านทั้งสองหลัง เจ้าหน้าที่จึงได้ร่วมกันตรวจยึดไม้ของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน เพื่อติดตามดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดต่อไป ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ ขอความกรุณาได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการปราบปรามและจับกุม อย่างเป็นรูปธรรมตามกฎหมาย อีกทั้งหากพี่น้องประชาชนมีความประสงค์จะส่งข้อมูล การลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ โดยตรง ให้กับ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Applications Line ชื่อ “สายตรงแม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 เพื่อรับทราบข้อมูลและนำไปสู่การปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้สังคมไทยสืบไป            คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 329 เมษายน 2565

พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ กองพลทหารราบที่ 7 (ทุ่งยั้งทัพ)

พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ กองพลทหารราบที่ 7 (ทุ่งยั้งทัพ) ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้า กองพลทหารราบที่ 7 อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมสมเด็จ  พระนเรศวรมหาราช ที่ทรงมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ตั้งหน่วย เนื่องจากเมื่อครั้งเกิดสงครามในอดีตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีพระราชกิจสงครามครั้งสุดท้าย หลังจากที่พระเจ้าอังวะแผ่อิทธิพลเข้าสู่หัวเมืองแถบลุ่มแม่น้ำสาละวินเรื่อยมา กระทั่งเข้ายึดเมืองนาย ซึ่งเป็นเมืองลูกของอาณาจักรล้านนา ทรงเกรงว่าหากปล่อยไว้ จะเป็นอันตรายในภายภาคหน้า จึงตัดสินพระทัยกรีทาทัพไปตีเมืองอังวะ โดยยกทัพออกจากพระนคร เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรงพุทธศักราช 2147 เมื่อเคลื่อนทัพถึงอำเกอแม่ริม ทรงยั้งทัพ เพื่อตรวจสอบสรรพกำลังและความพรั่งพร้อมครั้งสุดท้ายก่อนมุ่งสู่เมืองนาย ณ ทุ่งยั้งทัพ หรือสถานที่ตั้งกองพลทหารราบที่ 7 ในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ สดุดีวีรกรรม และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พลตรี สุทัศน์ จารุมณี ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 ในขณะที่ดำรงตำแหน่ง ได้กำหนดฉายาพื้นที่ตั้งของ กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 ให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ว่า "ทุ่งยั้งทัพ" โดยมีภารกิจหลักคือการรักษาเอกราช อธิปไตย และการธำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมทั้งการพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือประชาชน โดยหน่วยได้ดำรงความพร้อมรบ ให้พร้อมรองรับภารกิจด้านความมั่นคง การจัดกำลังปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน และสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติ อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง การลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ ในเวลาต่อมา หน่วยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงมีโครงการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้น โดยได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 และดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยช่างผู้หล่อปั้นคือ อาจารย์ ธวัชชัย ศรีสมเพ็ชร ศิลปินแห่งชาติ โดยพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งนี้ มีลักษณะพระราชอิริยาบถทรงม้าศึก หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์บรอนซ์ รมสีน้ำตาลอ่อน ประดิษฐานบนแท่นฐานแปดเหลี่ยม มีขนาดจากพื้นถึงแท่นฐาน สูง 10 เมตร และพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สูง 6 เมตร รวมทั้งมีภาพจิตรกรรมและประติมากรรม ที่จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจที่สำคัญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในพื้นที่และรอบแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ นับเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่ทรงคุณค่า และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ที่สื่อให้เห็นถึงความเป็นมา และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชาติ กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการนี้ กองทัพภาคที่ 3 ขอเชิญชวนข้าราชการทหาร ในสังกัดกองทัพภาคที่ 3, พี่น้องประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้มาร่วมเรียนรู้ประวัติศาสาตร์ชาติไทย และเยี่ยมชมพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ กองพลทหารราบที่ 7 (ทุ่งยั้งทัพ) เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงปกปักรักษาให้ประเทศชาติ อยู่ได้อย่างมั่นคงมาจึงถึงปัจจุบัน ไว้ให้ลูกหลานสืบไป          คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 329 เมษายน 2565

การป้องกันโรคโควิด-19 ผ่านกลไกความมั่นคงชายแดน ในระดับคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น (Township Border Committee : TBC) ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 (29 เมษายน 2565)

ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานด้านความมั่นคง โดยบูรณาการหน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และสกัดกั้นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ ประกอบกับที่รัฐบาลได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีข้อกำหนดตามกรอบพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้พิจารณาให้ระงับการใช้ช่องทางการเข้าออกประเทศในทุกพื้นที่ที่มีเขตติดต่อชายแดน เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 มาจนถึงปัจจุบัน ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการ กองทัพภาคที่ 3         ได้กำชับให้ทุกหน่วยที่มีพื้นที่ตามแนวชายแดน ได้เฝ้าระวังการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายของกลุ่มแรงงานต่างด้าว รวมไปถึงคนไทยที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน และลักลอบกลับเข้ามาในประเทศไทย     เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างจริงจัง จึงได้ใช้กลไกความมั่นคงชายแดนไทย – เมียนมา ในส่วนที่กองทัพภาคที่ 3 รับผิดชอบ ประกอบด้วยคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee : RBC) และคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น (Township Border Committee : TBC) ที่เกิดขึ้นตามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา     ว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการฯ RBC ลง 9 เมษายน 2533 โดยจะเห็นได้ว่ากลไกความมั่นคงชายแดนไทย – เมียนมา ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มิได้มีความเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความมั่นคงทางทหารเท่านั้น ยังคงรวมไปถึงการเสริมสร้าง ความร่วมมือไทย – เมียนมา ในด้านการค้าชายแดน การท่องเที่ยว การศึกษา การบรรเทาสาธารณภัย และด้านอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่องานการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ตามพื้นที่ชายแดนไทย – เมียนมา ซึ่งต้องมีภาครัฐและเอกชน ของทั้ง 2 ประเทศเข้าร่วมดำเนินการด้วย ซึ่งในระดับคณะกรรมการฯ TBC ในพื้นที่ กองทัพภาคที่ 3 ประกอบด้วย 1) พื้นที่จังหวัดเชียงราย มีคณะกรรมการฯ TBC แม่สาย – ท่าขี้เหล็ก 2) พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีคณะกรรมการฯ TBC แม่ฮ่องสอน – ลอยก่อ 3) พื้นที่จังหวัดตาก มีคณะกรรมการฯ TBC แม่สอด – เมียวดี โดย เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ TBC แม่สาย – ท่าขี้เหล็ก โดย หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 3 กองกำลังผาเมือง ได้ประสานขอความร่วมมือในการดำเนินการ ดังนี้ 2. เวลา 09.30 น. อำนวยความสะดวกในการส่งแรงงานสัญชาติเมียนมา เพื่อเดินทางกลับภูมิประเทศ จำนวน 30 คน (ผู้ชาย 11 คน, ผู้หญิง 16 คน และผู้ติดตาม 3 คน) ณ จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ ข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 1. เวลา 11.30 น. ดำเนินการในการผลักดันผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สัญชาติเมียนมา (ผู้ต้องกัก) ออกนอกราชอาณาจักร จำนวน 166 คน (ผู้ชาย 132 คน, หญิง 25 คน และผู้ติดตาม 9 คน) ณ จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ ข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการนำพาแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือมีเบาะแสข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย ขอความกรุณาได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการปราบปรามและการสกัดกั้นอย่างเป็นรูปธรรมตามกฎหมาย อีกทั้งหากพี่น้องประชาชนมีความประสงค์จะส่งข้อมูลเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย ให้กับ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Applications Line ชื่อ “สายตรง แม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 เพื่อรับทราบข้อมูลและนำไปสู่การปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้สังคมไทย คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 329 เมษายน 2565

ร้อยตรี วีรชาติ ศิริสอ (จ่าชาติ สะพานบุญแห่งขุนเขา) รับ “รางวัล ข้าราชการไทยตัวอย่าง” ประจำปี 2565

ตามโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพ ข้าราชการไทยที่ดี เพื่อเป็นคนดีของแผ่นดิน ภายใต้แนวคิด “ข้า...ของแผ่นดิน ร่วมมือกันประพฤติปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน” โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฝ่ายพิจารณาประวัติคัดสรรบุคคลและองค์กรเข้ารับรางวัลแห่งประเทศไทย (สว.นท.), สมัชชา   นักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (สว.นท.) และมูลนิธิสร้างสรรค์สังคมไทย ร่วมกันพิจารณามอบรางวัล "ข้าราชการไทยตัวอย่าง ครั้งที่  6” ประจำปี 2565 สำหรับข้าราชการต้นแบบคุณธรรม จริยธรรมที่ดี มีจรรยาบรรณยึดหลักธรรมาภิบาล ผู้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ที่มีภารกิจ และการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานราชการให้มีความเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อตนเอง เพื่อการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ก่อการทำดี นั้น    ทั้งนี้ จากผลงานการดำเนินงานของ ร้อยตรี วีรชาติ ศิริสอ (จ่าชาติ สะพานบุญแห่งขุนเขา) ผู้ช่วยสัสดีอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ที่ผ่านมา ที่เป็นผลงานเชิงประจักษ์ จึงได้รับการพิจารณาคัดเลือก เพื่อรับรางวัล ข้าราชการไทยตัวอย่าง” สาขา ข้าราชการทหารตัวอย่างดีเด่น ประจำปี 2565 จาก พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ในรัชกาลที่ 9 ประธานที่ปรึกษาอำนวยการโครงการฯ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ณ ห้องดอนเมืองบอลรูม โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ตนเองสืบไป จึงขอเรียนให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า กองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 3 มีความพร้อมที่จะสนับสนุนกำลังพล, ความรู้ความสามารถ และยุทโธปกรณ์ทางทหาร รวมทั้งบูรณาการศักยภาพทางการทหารในทุกๆ ด้านของกองทัพบก เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตลอดไป  คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 329 เมษายน 2565

แพทย์ทหารห่วงใย “ปิดเทอม อากาศร้อน ลงเล่นน้ำ เสี่ยงจมน้ำ” จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำ ระหว่าง

วันที่ 1 มกราคม - 30 มีนาคม 2565 พบเหตุการณ์ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำรวมทั้งหมด 64 เหตุการณ์ เสียชีวิต 57 ราย บาดเจ็บ 13 ราย แหล่งน้ำที่เกิดเหตุการณ์มากที่สุด ได้แก่ คลอง แม่น้ำ แหล่งน้ำที่ใช้ในเกษตรกรรม ทะเล และสระว่ายน้ำ ตามลำดับ โดยลักษณะเหตุการณ์ที่พบบ่อยได้แก่ เด็กลงเล่นน้ำโดยไม่แจ้งผู้ปกครองหรือไม่มีผู้ปกครองดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา อุบัติเหตุพลัดตกแหล่งน้ำที่ไม่มีขอบกั้น และเล่นน้ำในบริเวณที่มีคลื่นลมแรง      โดยในช่วงนี้พบการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการตกน้ำ จมน้ำ ในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี มากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่เด็กปิดเทอม อาศัยอยู่ที่บ้านเป็นหลัก ประกอบกับสภาพอากาศร้อน เด็กอาจชวนกันไปเล่นน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำที่ใช้ในเกษตรกรรม จึงอาจมีความเสี่ยงเหตุการณ์เด็กตกน้ำหรือจมน้ำได้     การป้องกันเหตุการณ์เด็กจมน้ำ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เช่น ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เน้นย้ำไม่ให้ไปเล่นน้ำตามลำพัง ไม่ไปตรงบริเวณห้ามเล่นน้ำ เช่น แหล่งน้ำลึก มีคลื่นลมแรง เป็นต้น และควรสอนวิธีว่ายน้ำเอาชีวิตรอดร่วมกับการขอความช่วยเหลือ สวมอุปกรณ์ป้องกันก่อนลงเล่นน้ำ เช่น เสื้อชูชีพ หรือห่วงยาง สำหรับบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ ควรร่วมดำเนินการร่วมกับชุมชนในการสำรวจแหล่งน้ำเสี่ยง จัดการแหล่งน้ำให้ปลอดภัย เช่น การสร้างรั้วกั้น ป้ายเตือน เตรียมอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง และให้ความรู้เรื่องแหล่งน้ำเสี่ยง การป้องกัน และการปฏิบัติตัวเมื่อพบคนตกน้ำหรือจมน้ำให้กับประชาชน รวมถึงเน้นย้ำโรงเรียนให้ความรู้เรื่องดังกล่าว กับนักเรียนอย่างต่อเนื่องตามบริบทพื้นที่ด้วยเช่นกัน ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 3 และแพทย์ทหาร จึงมีความห่วงใยต่อข้าราชการทหาร และบุตรหลาน ในสังกัดกองทัพภาคที่ 3 รวมทั้งพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ต่อภัยดังกล่าว โดยขอแนะนำประชาชน หากพบเห็นคนตกน้ำ ไม่ควรกระโดดลงไปช่วย เพราะอาจจมน้ำพร้อมกันได้ ควรใช้มาตรการ “ตะโกน โยน ยื่น” ดังนี้ 1) “ตะโกน” เรียกขอความช่วยเหลือ และโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669  2) “โยน” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำ 3) “ยื่น” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ผ้าขาวม้า ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ ทั้งนี้ โรงพยาบาลทหารทั้ง 10 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือ หรือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือประชาชนในคณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 329 เมษายน 2565

The 3rd Army Area donated blood more than 8M cc. under the "Blood Donation Volunteer for the Nation" Project in the blood shortage crisis from the effect of COVID-19.คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 329 เมษายน 2565


นครยายก - พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ตามมติมหาเถรสมาคม​

เมื่อเวลา 16.00 น.ของวันที่   26 เมษายน 2567 ที่ห้องประชุมสงฆ์ วัดพราหมณี พระอารามหลวง ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก นา...